Page 89 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 89
88
วิชา พื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา 2204–2006 หน่วยที่ 3
ชื่อหน่วย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สาระส าคัญ
การเขียนโปรแกรม (Programming) เป็นขั้นตอนหลังจากผ่านการวิเคราะห์ปัญหาและการ
ออกแบบโปรแกรมมาแล้ว ผู้เขียนโปรแกรมจะเลือกภาษาที่เหมาะสมกับงานแต่ละงานและมีความ
ถนัดในภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกมาใช้พัฒนาโปรแกรม ส าหรับการศึกษาพื้นฐานการเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์นั้นแนะน าให้ใช้ภาษาซีในการเขียนโปรแกรม เพราะเป็นภาษาที่มีโครงสร้างเข้าใจง่าย
และมีผู้นิยมใช้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนตามรูปแบบของไวยากรณ์
(Syntax) ของภาษาอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการแปลโปรแกรมที่เรียกว่าการ
คอมไพล์ (Compile) และการประมวลผลโปรแกรม (RUN) ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องตรวจสอบล าดับ
ขั้นตอนการท างานของโปรแกรมว่าถูกต้องหรือไม่ โดยการป้อนข้อมูลเพื่อท าการทดสอบและแก้ไข
โปรแกรม (Testing and Debugging) หากเกิดข้อผิดพลาดต้องท าการปรับปรุง แก้ไขให้ถูกต้อง
ต่อจากนั้นจึงเป็นการจัดท าเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation) ได้แก่ คู่มือส าหรับผู้ใช้
โปรแกรม (User’s Manual or User’s Guide) และคู่มือส าหรับผู้เขียนโปรแกรม (Programmer’s
Manual or Programmer’s Guide)
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษาซี
ภาษาซี เป็นภาษาที่พัฒนาโดย เดนนิส ริทซี่ (Dennis Ritchie) ในปี ค.ศ.1972 เป็นภาษาที่
ได้พัฒนาขึ้นในครั้งแรกโดยออกแบบเพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการ UNIX บนเครื่องเมนเฟรม และได้
พัฒนามาเป็นภาษาซีต่างๆ ได้แก่ Microsoft C, Turbo C, Quick C, Turbo C++, Borland C, Keil
C, Pic C, Bloodshed Dev-C++, CodeBlocks เป็นต้น ภาษา C เป็นภาษาที่เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้น
หัดเขียนโปรแกรมเนื่องจากมีโครงสร้างที่เข้าใจง่าย รูปแบบการเขียนไม่ซับซ้อน ภาษาซีเป็นโปรแกรม
ภาษาระดับสูง ที่ใช้ส าหรับเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่นเดียวกันโปรแกรมภาษาอื่น ๆ นอกจากนี้
ภาษาซียังใช้ส าหรับเขียนโปรแกรมระบบ และโปรแกรมส าหรับควบคุมฮาร์ดแวร์บางส่วนที่โปรแกรม
ระดับสูงหลายภาษาไม่สามารถท าได้
1.1 ขั้นตอนการใช้โปรแกรมภาษาซีเพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การเขียน โค้ดโปรแกรม (Source Code) เป็นขั้นตอนของการเขียน
ชุดค าสั่งตามโครงสร้างของภาษาซี และท าการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .cpp เช่น ex1.cpp
เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การคอมไพล์โปรแกรม (Compile) เป็นการน าโค้ดโปรแกรม (Source
Code) มาท าการคอมไพล์ (Compile) โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) เพื่อ
แปลจากภาษาซีที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในขั้นตอนนี้คอมไพเลอร์จะ
ท าการตรวจสอบ โค้ดโปรแกรม (Source Code) ว่าเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่