Page 22 - แผนการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รหัส 2204-2006
P. 22
1. จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาซี
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เขียนโปรแกรมตามโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาซีได้
2. เขียนโปรแกรมโครงสร้างแบบล าดับได้
3. ทดสอบการท างานของโปรแกรมได้
4. แก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้
5. บอกส่วนประกอบของเอกสารประกอบโปรแกรมอย่างง่ายได้
3. คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ / บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1. ความมีวินัยในการท างาน
2. ความรับผิดชอบในการท างาน
3. ความเชื่อมั่นในตนเอง
เนื้อหาสาระ
เนื้อหาสาระของหน่วยที่ 3 ดังนี้
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษาซี
1.1 ขั้นตอนการใช้โปรแกรมภาษาซีเพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การเขียน โค้ดโปรแกรม (Source Code) เป็นขั้นตอนของการเขียนชุดค าสั่ง
ตามโครงสร้างของภาษาซี และท าการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .cpp
ขั้นที่ 2 การคอมไพล์โปรแกรม (Compile) เป็นการน าโค้ดโปรแกรม (Source Code)
มาท าการคอมไพล์ (Compile) โดยใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หากไม่พบ
ข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ (Compiler) จะแปลไฟล์โค้ดโปรแกรม (Source Code) จากภาษาซีไปเป็น
ภาษาเครื่อง (ไฟล์นามสกุล .obj)
ขั้นที่ 3 การสร้าง Executable Program โดยการเชื่อมโยง(Link) เข้ากับไลบรารี
ฟังก์ชั่น (Library Function) ของภาษาซีก่อน ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงจะท าให้ได้ Executable Program
(ไฟล์นามสกุล .exe)
ขั้นที่ 4 การประมวลผล (Run) เมื่อน า Executable Program มาประมวลผลก็จะได้
ผลลัพธ์ (Output) ของโปรแกรมออกมาตามค าสั่งที่เขียนออกแบบโปรแกรมไว้
1.2 โครงสร้างของภาษาซีแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
1) ส่วนหัวของโปรแกรม หรือส่วนประมวลผลก่อน
2) ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก
3) ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม
4) หมายเหตุของโปรแกรมในภาษาซี (Comment)
1.3 กฎของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี
1) ค าสั่งในภาษา C ต้องเขียนด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก
2) ทุกประโยคเมื่อจบประโยคแล้วต้องใช้เครื่องหมาย “;”
3) ในหนึ่งโปรแกรมจะมีกี่ฟังก์ชันก็ได้แต่จะต้องมีฟังก์ชันที่ชื่อ main เสมอ
4) การใส่หมายเหตุ (Comment) // และ /* …… */