Page 47 - แผนการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รหัส 2204-2006
P. 47
3. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4. การเขียนโปรแกรมโครงสร้างแบบมีทางเลือกและท าซ้ า
5. การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อประยุกต์ในงานธุรกิจ
6 ประเมินผลปลายภาค
สาระส าคัญ
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ พีเพิลแวร์ ข้อมูล กระบวนการท างาน
การท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะท าตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้น การน าเครื่อง
คอมพิวเตอร์มาช่วยส าหรับการแก้ปัญหาจึงจ าเป็นต้องมีโปรแกรมส าหรับการแก้ปัญหานั้น เพื่อสั่งให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ท างานตามต้องการ โปรแกรมที่ดีจะต้องท างานถูกต้อง เชื่อถือได้ อ่านง่าย มีความปลอดภัย
ผู้เขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ จะต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขทุกขั้นตอน
ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย แล้วน าขั้นตอนวิธีที่ได้เรียบเรียงนั้นมาเขียนเป็นโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรักและชอบการเขียนโปรแกรม มี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถท างานเป็นทีมได้
2. การวิเคราะห์ปัญหาและออกแบบโปรแกรม
กระบวนการท างานของโปรแกรมประกอบด้วย การน าข้อมูลเข้าสู่ระบบ (INPUT) การประมวลผล
เช่น การค านวณ การเปรียบเทียบ ฯลฯ (PROCESS) การแสดงผลลัพธ์จากการท างานของโปรแกรม
(OUTPUT) เพื่อให้ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ดีท างานถูกต้อง จึงต้องมีการเตรียมการก่อนลงมือเขียน
โปรแกรม นั่นก็คือ การวิเคราะห์ปัญหาและการออกแบบโปรแกรม ส าหรับการวิเคราะห์ปัญหานั้นจะมี 5
ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement) การวิเคราะห์รูปแบบผลลัพธ์ (Output) การ
วิเคราะห์ข้อมูลน าเข้า (Input) การวิเคราะห์ตัวแปร (Variable) และการวิเคราะห์การประมวลผล
(Process) ส่วนการออกแบบโปรแกรมเป็นการแสดงล าดับขั้นตอนการท างานของโปรแกรม โดยเครื่องมือ
ที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมมีอยู่ 2 ชนิด คือ รหัสเทียม (Pseudo Code) และ ผังงาน (Flowchart)
การออกแบบโปรแกรมจะมีโครงสร้างควบคุมการท างานอยู่ 3 แบบ คือ โครงสร้างแบบล าดับ (Sequential
Structure) โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection Structure) และโครงสร้างแบบท าซ้ า (Iteration
Structure)
3. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรม (Programming) เป็นขั้นตอนหลังจากผ่านการวิเคราะห์ปัญหาและการ
ออกแบบโปรแกรมมาแล้ว ผู้เขียนโปรแกรมจะเลือกภาษาที่เหมาะสมกับงานแต่ละงานและมีความถนัดใน
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกมาใช้พัฒนาโปรแกรม ส าหรับการศึกษาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
นั้นแนะน าให้ใช้ภาษาซีในการเขียนโปรแกรม เพราะเป็นภาษาที่มีโครงสร้างเข้าใจง่ายและมีผู้นิยมใช้มา
ตลอดจนถึงปัจจุบัน การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนตามรูปแบบของไวยากรณ์ (Syntax) ของภาษาอย่าง
เคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการแปลโปรแกรมที่เรียกว่าการคอมไพล์ (Compile) และการ
ประมวลผลโปรแกรม (RUN) ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องตรวจสอบล าดับขั้นตอนการท างานของโปรแกรมว่า
ถูกต้องหรือไม่ โดยการป้อนข้อมูลเพื่อท าการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Testing and Debugging) หาก
เกิดข้อผิดพลาดต้องท าการปรับปรุง แก้ไขให้ถูกต้อง ต่อจากนั้นจึงเป็นการจัดท าเอกสารประกอบโปรแกรม
(Documentation) ได้แก่ คู่มือส าหรับผู้ใช้โปรแกรม (User’s Manual or User’s Guide) และคู่มือ
ส าหรับผู้เขียนโปรแกรม (Programmer’s Manual or Programmer’s Guide)