Page 1 - การวางแผนงานวิจัย โครงร่างงานวิจัย
P. 1

การวางแผนงานวิจัย โครงร่างงานวิจัย

                                        (Research Planning, Protocol & Proposal)
                                                                             ศิริศักดิ์ นันทะ พ.บ., วทด.

                                                                          ชิดชนก เรือนก้อน ภ.บ., วทด.
                   1.  การวางแผนงานวิจัย (Research Planning)

                       เกณฑ์การล าดับความส าคัญของการท าวิจัย (Criteria for research priority setting) โดย

                   หลักการมี 4 ข้อใหญ่ๆได้แก่ 1) ความเหมาะสม (Appropriateness) ของเรื่องที่จะท าวิจัย ในเชิง
                   วิชาการ 2) มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ (Relevancy) 3) โอกาสของความส าเร็จของ

                   งานวิจัยนั้น (The chance of success) 4) ในเชิงประโยชน์ หรือ ผลกระทบของผลลัพธ์ของ
                   งานวิจัย (Impact of the research outcome)

                       ในการวางแผนการวิจัยนักวิจัยหรือทีมนักวิจัยควรรู้เนื้อหาที่จะท าวิจัย รู้ระเบียบวิธีวิจัย รู้
                   องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย และรู้วิธีเขียนรายละเอียด โดยการวางแผนงานวิจัยต้อง

                   เริ่มต้นตั้งแต่ การเลือกงานวิจัยที่ค านึงถึง ความเป็นไปได้ในการท าวิจัย (feasibility) การเลือก
                   วิธีวิจัยที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การวิจัย หาข้อมูลได้ไม่ยากล าบาก ไม่ใช้เวลานานเกินจน

                   ล้าสมัย และการใช้ทรัพยากร ทั้งในแง่ งบประมาณ และบุคลากร และต้องมีการวางแผนถึงแหล่ง
                   ทุนสนับสนุนที่เป็นไปได้ไว้ล่วงหน้า

                          ผู้วิจัยต้องมีความสามารถในการการบริหารงานวิจัย ซึ่งหมายความว่าต้องท าให้
                   งานวิจัยนั้น ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ด าเนินงานตามแผน

                   (implementation) และประเมินผล (evaluation) โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                                       ั
                           i.  วิเคราะห์ปญหาและก าหนดวัตถุประสงค์
                          ii.  ก าหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                                 1.   ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase) เช่นการติดต่อเพื่อขออนุมัติ

                   ด าเนินการ การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย การเตรียมเครื่องมือ การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย การทดสอบ
                   เครื่องมือในการส ารวจ การแก้ไขเครื่องมือในการส ารวจ

                                 2.  ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase) เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การ
                   เขียนรายงาน

                          iii.  ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละ
                   ขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จ านวนเท่าใด

                          iv.  การด าเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การ
                   จัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล

                   ส าหรับการบริหารงานบุคคล จ าเป็นต้องด าเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
                          ก.  การจัดองค์กร (Organizing) เช่น การก าหนดหน้าที่ ของคณะผู้ร่วมวิจัย แต่ละคน

                   ให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหา และการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น







                                                                                                     1
   1   2   3   4   5   6