Page 13 - การวางแผนงานวิจัย โครงร่างงานวิจัย
P. 13

ในการให้สิ่งแทรกแซงอาจเกิดอคติ 3 ประการ ในระหว่างการให้สิ่งทดลอง ได้แก่ การ

                   ปนเปื้อน (contamination) การได้รับสิ่งทดลองอื่นๆที่ไม่ควรได้ (co-intervention) และ การ
                                                                                            ้
                   ไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา (non-compliance) จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการปองกัน
                   รวมทั้งการติดตาม วัด (monitor) อคติที่อาจเกิดขึ้นด้วย

                   กุญแจสู่ความส าเร็จ

                            พรรณนาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสิ่งทดลองที่ให้รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

                            ต้องให้ความระมัดระวังกับสิ่งทดลองที่ให้โดยไม่ได้ตั้งใจ


                              -      สถิติที่พิจารณาใช้ (Statistical considerations)
                                      i.  ขนาดตัวอย่าง (sample size)

                          การก าหนดขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination)
                          ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นถึงขนาดตัวอย่างที่ต้องการเพื่อตอบค าถามงานวิจัย ขนาด

                   ตัวอย่างที่ค านวณได้จะท าให้ทราบว่างานวิจัยนั้นจะมีความเป็นไปได้ในการท าหรือไม่และท าให้
                   ผู้ทบทวนงานวิจัยประมาณได้ถึงทรัพยากรที่ใช้ว่าจะไม่สิ้นเปลืองจากการใช้จ านวนตัวอย่างที่

                   มากเกินความจ าเป็น ในการค านวณขนาดตัวอย่างจะใช้หลักการพื้นฐานของการทดสอบ
                   สมมุติฐาน (Hypothesis-based) และหลักการของช่วงเชื่อมั่น (Confidence interval-based)

                   โดยสูตรในการค านวณขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็น
                   การศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม

                          กุญแจสู่ความส าเร็จ

                            ต้องแสดงขนาดตัวอย่างอย่างเหมาะสมเสมอ
                            แสดงข้อมูลที่เหมาะสมที่จ าเป็นต่อการค านวณขนาดตัวอย่าง

                            แสดงให้เห็นว่าการประมาณขนาดตัวอย่างที่ได้ว่าได้มาอย่างไร


                                     ii.  การวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis)

                          การวิเคราะห์ข้อมูลในที่นี้หมายถึงกระบวนการส าหรับ บันทึก จัดเก็บและการลดข้อมูล
                   การประเมินคุณภาพข้อมูล และการวิเคราะห์ทางสถิติ แบ่งตามขั้นตอนได้ดังนี้


                       ขั้นตอนที่ 1: สถิติพรรณนา

                         พรรณนารูปร่าง แนวโน้มสู่ส่วนกลาง และความแปรปรวน

                         ดูตัวแปรทีละตัว: ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน พิสัย สัดส่วน


                       จุดประสงค์


                         เพื่อสรุปลักษณะส าคัญของข้อมูล
                         เพื่อค้นหาข้อมูลที่อาจมีการลงผิดพลาดเช่น มี 3 เพศ อายุ 150 ปีเป็นต้น




                                                                                                    13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18