Page 20 - ชุดการสอนเฟย123
P. 20

นอกจากลักษณะเจ้าขุนมูลนายที่ปรากฏอยู่ในระบบราชการแล้ว   การอุปถัมภ์ค้ าชูการเน้นการพึ่ง

               ผู้อื่น  การยึดมั่นในตัวบุคคล  ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากในสังคมไทย  ดังจะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองจะเสื่อมหรือ

               จะเจริญรุ่งเรืองก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรคเป็นส าคัญ  บุคคลใดแม้ว่าจะมีความสามารถมากเพียงใด  หากไม่ได้รับ

               การอุปถัมภ์ค้ าชูจากผู้ใหญ่ที่มีอ านาจแล้วก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเจริญก้าวหน้าใน ต าแหน่งหน้าที่การงานอย่าง

               เต็มที่   ความสามารถในการฝากเนื้อฝากตัวกับผู้มีอ านาจจึงเป็นปัจจัยส าคัญอีกประการนอกเหนือจากปัจจัย

               เรื่องการศึกษาต่อการเลื่อนต าแหน่งการงานและการเลื่อนฐานะในสังคม

                       นอกจากนั้น  ชนชั้นน าทางการเมืองและชนชั้นน าทางเศรษฐกิจ   ก็มีความสัมพันธ์กันในรูปของการ

               แลกเปลี่ยนประสานผลประโยชน์ ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด   กล่าวคือ   ชนชั้นน าทางการเมืองจะให้ความ

               คุ้มครองช่วยเหลือแก่กิจการทางด้านธุรกิจของชนชั้นน าทางเศรษฐกิจ  ในขณะเดียวกันชนชั้นน าทางเศรษฐกิจ

               ก็จะให้ผลตอบแทนแก่ชนชั้นน าทางการเมืองในรูปของเงินตรา   ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์จึงยังคงมีอยู่

               ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของสังคมสมัยใหม่   เพียงแต่รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้อยู่ใต้

               อุปถัมภ์ที่มีอยู่เหมือนว่าจะเน้นค่านิยมในเรื่องของ  “การให้”  เพื่อ  “แลกเปลี่ยน”  เป็นหลัก   ส่วนค่านิยม

               เรื่อง  “กตัญญูกตเวที”  นั้นดูเหมือนว่าจะลดน้อยลงไปกว่าในสังคมสมัยเก่ามาก   (ศุภรัตน์   เลิศพาณิชย์กุล,

               2538: 108)



               ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยแบ่งได้เป็น  4  รูปแบบ

                       1) ระบบอุปถัมภ์ในหมู่ญาติ  นับว่าเป็นระบบที่เก่าแก่มากระบบหนึ่งในสังคมไทย

               ตามวัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างญาติอาวุโส   (พี่   พ่อ   แม่   ปู่   ย่า   ตา   ยาย)   กับญาติผู้

               น้อง (น้อง  ลูก  หลาน  เหลน)   เป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์อย่างชัดเจน และน่าจะเป็นระบบที่คงทนถาวร

               ที่สุดด้วย

                       2) ระบบอุปถัมภ์ในหมู่มิตรสหาย        ความเป็นเพื่อนในสังคมไทยปรากฏออกมาได้หลาย

               รูปแบบ   เช่น   เพื่อนเล่น   เพื่อนร่วมรุ่น   เพื่อนร่วมชั้น   เพื่อนสถานศึกษาและเพื่อนตาย   เป็นต้น   ความ

               คาดหวังระหว่างเพื่อนมีความลึกซึ้งและมากกว่าบางสังคม เพื่อนในสังคมไทยคาดหวังต่อกันและกัน

               มากกว่า   ความเป็นเพื่อนแท้จึงมักจะวัดกันได้ด้วย พฤติกรรมการช่วย เหลือเกื้อกูลกัน   หรือการที่เพื่อนซึ่งมี

               ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่า ให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนผู้ด้อยฐานะอย่างสม่ าเสมอ  ความสัมพันธ์ฉันท์

               เพื่อนก็จะแน่น แฟ้นยิ่งขึ้นจนถึงขั้นกลายเป็นญาติสนิทกันก็ได้  เพื่อนผู้ที่ได้รับความอุปถัมภ์ทางด้านวัตถุ

               ก็จะตอบแทนด้วยความจงรักภักดี   การรู้จักบุญคุณ   คอยป้องกันเพื่อนผู้ให้ความอุปถัมภ์ด้วยวิธีการ

               ต่างๆ   ตามสติปัญญา   และความสามารถที่ตนมีอยู่   การตอบแทนบุญคุณบางครั้งก็แสดงออกด้วยการน าสิ่ง

               เล็กๆ  น้อยๆ  มาให้ในโอกาสอันควร
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25