Page 21 - ชุดการสอนเฟย123
P. 21
3) ระบบอุปถัมภ์ในองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอก ชนก็ตามมักจะถูกมองในแง่ลบอยู่
ตลอดเวลาว่า ระบบอุปถัมภ์ท าให้ระบบบริหารขาดประสิทธิภาพ ซึ่งก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง การใช้ระบบอุปถัมภ์
มากเกินไปก็อาจจะท าให้เกิดความระส่ าระสาย เกิดการเสียขวัญก าลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอยู่
นอกวงอุปถัมภ์ได้เช่นกัน
4) ระบบอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพ เป็นระบบอุปถัมภ์ที่น่าจะมีลักษณะคงทนน้อยกว่าแบบอื่นๆ ที่กล่าว
มาแล้ว แต่ลักษณะอื่นๆ ของระบบอุปถัมภ์ก็ยังมีครบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปฏิบัติต่างตอบแทน ความ
สูงศักดิ์ของผู้อุปถัมภ์และความจงรักภักดีของผู้รับอุปถัมภ์ ส าหรับสังคมไทย ระบบอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพหรือ
ข้ามอาชีพนี้
อาจจ าแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
กลุ่มข้าราชการ พ่อค้า กับ กลุ่มนักการเมือง ชาวไร่ ชาวนา การอุปถัมภ์ระหว่างข้าราชการและ
พ่อค้าเป็นไปในรูปของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางด้านวัตถุระหว่างกันมากกว่า คือว่าฝ่ายราชการจะ
อ านวยสิทธิประโยชน์ให้แก่พ่อค้า นักธุรกิจ ซึ่งจะเป็นฝ่ายทดแทนบุญคุณหรือตอบแทนด้วยการให้เงินทอง
หรือทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่น
กล่าวโดยสรุป ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบหนึ่งที่มีความเป็นมาและพัฒนาการมาอย่างยาวนานร่วมกับ
สังคมไทยมาตั้งแต่เริ่มแรก โดยเป็นระบบความสัมพันธ์ของคน 2 ฝ่าย ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกัน ฝ่ายที่อยู่
เหนือกว่า คือ มีทรัพยากรมากกว่า หรือสูงศักดิ์ มีอ านาจมากกว่า จะอยู่ในฐานะอุปถัมภ์ ฝ่ายที่อยู่ต่ ากว่า
คือ ผู้ที่มีทรัพยากรน้อยกว่า หรือมีอ านาจด้อยกว่าจะ เป็นผู้ใต้อุปถัมภ์ ต่างฝ่ายต่างมีการแสวงหา
แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันในลักษณะต่างตอบแทน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคนทั้ง 2 ความสัมพันธ์
ลักษณะนี้ด ารงอยู่ได้ไม่ใช่เพียงเพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์เท่านั้น แต่ต้องมีอุดมการณ์ที่ช่วยจรรโลง
ความสัมพันธ์อย่างนี้ เอาไว้ ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยเริ่มมีขึ้นในระบบสังคม และแพร่กระจายไปสู่ระบบ
การเมือง ผ่านทางชนชั้นน าทางการเมืองและชนชั้นน าทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการอุปถัมภ์ระหว่างชนชั้นน า
ทางการเมืองด้วยกัน หรือระหว่างชนชั้นน าทางเศรษฐกิจด้วยกัน แต่ใน ระยะหลังนี้จะเห็นได้ว่า มีการ
พัฒนาของระบบอุปถัมภ์ โดยเป็นการอุปถัมภ์ระหว่างกลุ่มชนชั้นน าทางการเมืองกับชนชั้นน าทางเศรษฐกิจ
ด้วย
การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์นี้ถือเป็นแนวคิดส าคัญที่จะช่วยให้เข้าใจถึงความเป็นมา
พัฒนาการ รวมไปถึงบทบาทของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย และที่ส าคัญคือกระบวนการประสาน
ประโยชน์ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของกลุ่มธุรกิจการเมืองนั่นเอง