Page 19 - ชุดการสอนหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 (กิตติธัช 013)
P. 19
ต้น ไปแจกหรือไม่เช่นนั้นก็ให้เป็นเงินสดด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ การซื้อสิทธิขายเสียงถือว่าเป็นสิ่งที่กีดขวาง
ความส าเร็จ เหนี่ยวรั้ง และบ่อนท าลายการพัฒนาระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย อย่างใหญ่หลวง
เพราะเมื่อมีการลงทุนซื้อเสียงของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง เพื่อเข้าสู่การด ารงต าแหน่ง
ด้วยแนวคิดเดียวกับการลงทุนในลักษณะเดียวกับการค้าขาย ซึ่งผู้ลงทุนย่อมมุ่งหวังผลตอบแทนหรือ
ก าไรที่จะได้รับการการลงทุนนั้น ผู้ลงทุนซื้อเสียงย่อมต้องหวังผลก าไรเช่นกัน ดังนั้น เมื่อซื้อเสียงได้ส าเร็จจนได้
ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ก็ย่อมจะแสวงหาผลประโยชน์จากต าแหน่งหน้าที่ทางการเมืองนั้น เพื่อให้ได้เงิน
ลงทุนที่ซื้อเสียงคืนกลับมาพร้อมด้วยก าไร รวมไปถึงการมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ในรูปตัวเงิน เพื่อจะสะสมไว้
ส าหรับการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ การยอมรับความแตกต่างในเรื่องฐานะของบุคคล การเน้นการพึ่งผู้อื่น
และการยึดมั่นตัวบุคคล ยังคงมีอิทธิพลต่อการปกครองเรื่อยมา ดังจะเห็นได้ว่าลักษณะเจ้าขุนมูลนายยังคงอยู่
ในระบบราชการไทยค่อนข้างมาก ข้าราชการจ านวนไม่น้อยมีความรู้สึกว่า ตนเป็นนายของ
ประชาชน เหมือนดังเช่น มูลนายเป็นนายของพวกไพร่ ทั้งๆ ที่ตามแนวความคิดของระบบบริหารราชการ
สมัยใหม่ ข้าราชการไม่ได้เป็นนายของประชาชน หากแต่เป็นผู้น าบริการต่างๆ ของรัฐไปสู่ประชาชน
ภายใต้ขอบเขตแห่งอ านาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ โดยข้าราชการจะได้รับเงินเดือน
เป็นผลตอบแทนในการปฏิบัติงาน เงินเดือนเหล่านี้ก็ ได้จากภาษีอากรของประชาชน ข้าราชการจึงมีฐานะ
เป็นผู้รับใช้ประชาชน แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ในสังคมไทยกลับกลายเป็นว่า ข้าราชการรู้สึกว่าตนเป็นนายของ
ประชาชน และทางฝ่ายประชาชนเองก็ยอมรับว่า มีความรู้สึกต่อข้าราชการเหมือนดังเป็นมูลนายของตน มี
ความกลัวเกรง นอบน้อม และเคารพเชื่อฟังระบบราชการ ข้าราชการจึงมีอิทธิพลในการควบคุมความคิด
และพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนเหมือนระบบไพร่เคยควบคุมชีวิตและความคิดอ่านของพวกไพร่ใน
สังคมสมัยเก่า ส่วนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการผู้ใหญ่กับข้าราชการผู้น้อยภายในระบบราชการ
ก็ได้รับอิทธิพลลักษณะความสัมพันธ์ของระบบไพร่อยู่ไม่น้อย ระบบราชการไทยยังยึดมั่นในความผูกพันกัน
เป็นเชิงส่วนตัวตามลักษณะความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ มากกว่าจะมีความสัมพันธ์กันเป็นทางการตาม
กฎระเบียบที่ได้วางไว้ และมีแนวโน้มว่าจะปฏิบัติราชการตามค าสั่งของหัวหน้าโดยไม่มีการโต้แย้ง และไม่มี
ความคิดริเริ่มใดๆ เหมือนเช่นมูลนายระดับล่างปฏิบัติต่อมูลนายระดับสูงในสังคมสมัยเก่า
(ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล, 2538: 105)