Page 22 - ชุดการสอนหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 (กิตติธัช 013)
P. 22

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

                               สถานะและพระราชอ านาจของพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรไทย



               พระมหากษัตริย์ คือ ....

                       ความหมายของ “ พระมหากษัตริย์ ” ตามรูปศัพท์ หมายถึง “ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ”

               ค าว่า “ มหา ” แปลว่า ยิ่งใหญ่และค าว่า “ กษัตริย์ ” แปลว่า นักรบ ถ้าจะถือตามความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป


               และความเข้าใจตามธรรมดาแล้วพระมหากษัตริย์ก็คือพระเจ้าแผ่นดิน ในภาษาสันสกฤตค าว่า กษัตริย
               หมายถึง ผู้ป้องกันหรือนักรบ คติที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่าเป็นพระมหากษัตริย์นั้นเรารับมาจากค าในภาษา


               สันสกฤตซึ่งมีความหมายสองนัยคือ คติจากธรรมเนียมการใช้วรรณะของอินเดียซึ่งถือว่า “  กษัตริย์ ” รวมถึง
               พวกนักรบด้วย และคติที่สองหมายถึงผู้ปกครองแผ่นดินซึ่งสืบเนื่องมาจากคติ “ มหาสมมติ ” ซึ่งถือว่ามหาชน


               เป็นผู้เลือกกษัตริย์ มีค าเรียกพระมหากษัตริย์หลายค าเช่น ราชราชา พระราชา หรือราชัน หมายถึง ผู้ชุบน้อม
               จิตใจของผู้อื่นไว้ด้วยธรรม จักรพรรดิ หมายถึง ผู้ปกครองที่ปวงชนพึงใจและเป็นผู้มีคุณธรรมสูง และใกล้เคียง


               กับค าว่า ธรรมราชา หมายถึง ผู้รักษาและปฏิบัติธรรมทั้งเป็นต้นเหตุแห่งความยุติธรรมทั้งปวง
               ค าว่าพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง พระผู้เป็นผู้น า หรือประมุขของประเทศ และค าว่า “ พระเจ้าแผ่นดิน ” หมายถึง


               พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน(เขตคาม อธิปติ)ซึงเขียนไว้ในกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จที่ประกาศใน

               รัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง

                       เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓  ไม่จะเลือกใช้ค าใด ค าว่า “ ราชา ”  “ กษัตริย์ ” “ จักรพรรดิ ” โดยความหมาย

               แล้วน่าจะใช้เหมือนๆกัน อย่างไรก็ดีในสังคมไทยเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ ในหลวง ” “ พ่อหลวง ” “ พ่อ

               ของแผ่นดิน ” ความหมายก็คือเป็นผู้ปกครองที่เปรียบเหมือนพ่ออยู่เหนือเกล้าเหนือชีวิตซึ่งชนชาวไทยมีความ

               จงรักภักดีชั่วกาลนาน



                       ความหมายของพระมหากษัตริย์ในเรื่องการเมืองการปกครองของไทย ถือว่าพระมหากษัตริย์คือ

               หัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดกับหมู่คณะ และประการที่สองคือ พระมหากษัตริย์

               ทรงเป็นประมุขของรัฐในทางการเมืองหรือเป็นผู้มีอ านาจสูงสุดโดยเฉพาะในยุโรปมีความเชื่อในเรื่อง

               ลัทธิเทวสิทธิ์ ( Divine right of King ) และถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอ านาจอธิปไตยและมีอ านาจสูงสุด

               ในการปกครองประเทศ รวมทั้งมีอ านาจโดยสมบูรณ์ (Absolute)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27