Page 3 - ระเบียบปฏิบัติ 2: เรื่อง การควบคุมกระบวนการบริการ
P. 3

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร                     โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์             WI-GAS 6
                Tel  256-4000,02649-4000 ต่อ 80321   1873  ถนนพระราม 4  ปทุมวัน กรุงเทพฯ  10330   ความไม่แน่นอนของการวัด
                ฉบับที่  1        หน้า  3/7     บริการดี      มีคุณภาพ  เสร็จทันเวลา


               1.  วัตถุประสงค์
                   1.1  เพื่อเป็นแนวทางประมาณค่าความไม่แน่นอนของการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร

                   1.2  เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาระบบคุณภาพของฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร

               2.  ขอบเขต

                      ครอบคลุมการปฏิบัติงานของฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร


               3.  นิยาม
                   3.1  การวัด (measurement)  หมายถึง  กลุ่มของปฏิบัติการที่มีความมุ่งหมายเพื่อการตัดสินค่าของปริมาณอันหนึ่ง
                   3.2  สิ่งที่ถูกวัด (measured)  หมายถึง  ปริมาณใดๆ  ที่ถูกน ามาวัด

                   3.3  ผลการวัด  (Result of measurement)  หมายถึง  ค่าที่ได้จากการวัด
                   3.4  ปริมาณที่มีอิทธิพลต่อการวัด   (Influence  Quantity)    หมายถึง  ปริมาณที่ไม่ใช่สิ่งที่ถูกวัดแต่มีผลต่อการวัด  เช่น
                       อุณหภูมิ

                   3.5  ความสามารถซ ้ากันได้  (repeatability)  หมายถึง  ความใกล้เคียง  ระหว่างผลของการวัดหลายๆ ครั้ง  ของปริมาณที่ถูก
                       วัดเดียวกัน  ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
                         3.5.1  วิธีการวัดเดียวกัน

                         3.5.2  ผู้สังเกตคนเดียวกัน
                         3.5.3  เครื่องมือเดียวกัน

                         3.5.4  ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
                         3.5.5  กระท าในระยะเวลาอันสั้น
                   3.6  ความถูกต้องของการวัด (accuracy of measurement)  หมายถึง  ความใกล้เคียงระหว่างผลของการวัดกับค่าจริง  (true

                       value)  ของสิ่งที่ถูกวัด
                   3.7  ความคลาดเคลื่อนของการวัด (error of measurement)  หมายถึง  ผลการวัดลบด้วยค่าจริงของสิ่งที่ถูกวัด
                   3.8  ค่าจริง (true value)  หมายถึง  ค่าที่ประกอบด้วยปริมาณที่ก าหนดให้โดยเฉพาะ  แต่เนื่องจากค่าจริงไม่สามารถที่จะ

                       ก าหนดได้  ในทางปฏิบัติจึงใช้ค่าที่เป็นที่ตกลงยอมรับกัน
                   3.9  ค่าจริงที่เป็นที่ยอมรับ (conventional  true  value)    หมายถึง  ค่าจริงที่เป็นที่ตกลงยอมรับกันว่ามีความไม่แน่นอนที่
                        เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

                   3.10  ความไม่แน่นอนของการวัด (uncertainty of measurement)  เป็นพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับผลการวัดซึ่งบอกลักษณะ
                        การกระจายค่าของสิ่งที่ถูกวัดอย่างสมเหตุสมผล  ตัวอย่างของพารามิเตอร์  เช่น  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                   3.11  ความสามารถสอบกลับได้ (Traceability)  หมายถึง  คุณสมบัติของผลการวัดที่สามารถหาความสัมพันธ์กับมาตรฐาน
                        ที่เหมาะสม  ซึ่งโดยทั่วไป  ได้แก่  มาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ  เปรียบเทียบอย่างต่อเนื่องกัน
                        เป็นลูกโซ่  และแสดงค่าความไม่แน่นอน



               ประกาศใช้วันที่  1 กรกฎาคม 2559                                                             เอกสารควบคุม/ ห้ามไม่ให้ถ่ายเอกสาร
   1   2   3   4   5   6   7