Page 172 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 172
166
5.6 วันลาฝึกอบรม ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถเที่
ประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคมหรือการเพิ่มทักษะความชํานาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการ
ทํางานของลูกจ้างตามโครงการหรือหลักสูตร ซึ่งมีกําหนดช่วงเวลาที่แน่นอนและชัดเจน และเพื่อ การสอบ
วัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ลูกจ้างต้องแจ้งเหตุในการลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้ง
แสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
6. ค่าตอบแทนในการทํางาน
ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทํางานตาม
สัญญาจ้างสําหรับระยะเวลาการทํางานปกติเป็นรายชั่วโมงรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น
หรือจ่ายให้โดยคํานวณตามผลงานที่ลูกจ้างทําได้ในเวลาทํางานปกติของวันทํางาน และให้หมายความ รวมถึง
เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทํางาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม
พระราชบัญญัตินี้
ค่าจ้างในวันทํางาน หมายถึง ค่าจ้างที่จ่ายสําหรับการทํางานเต็มเวลาการทํางานปกติ อัตรา
ค่าจ้างขั้นต่ํา หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกําหนดตามกฎหมาย
ค่าจ้าง จะจ่ายเป็นเงินตราไทยเท่านั้น จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา
ถ้ากําหนดเวลาทํางานปกติเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ให้จ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน
สําหรับการทํางานที่เกิน8ชม. ขึ้นไปไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันทํางาน
และในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงหรือต่อหน่วยในวันหยุด
ค่าจ้างในวันลา มีดังนี้
- จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยไม่เกิน 30 วันทํางานต่อปี
- จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อทําหมัน
- จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหาร ไม่เกิน 60 วันต่อปี
- จ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 45 วันต่อครรภ์
ค่าจ้างมีลักษณะดังนี้
1. เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทํางานตามสัญญาจ้าง
สําหรับระยะเวลาการทํางานปกติเป็นรายชั่วโมงรายวันรายสัปดาห์หรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคํานวณ
ตามผลงานที่ลูกจ้างทําได้ในเวลาทํางานปกติของวันทํางาน