Page 173 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 173
167
2. ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา อัตราค่าจ้างขั้นต่ําของท้องที่นั้น
3. ถ้าไม่มีการกําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ําในท้องที่ใดให้ถือว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ําพื้นฐานเป็นอัตรา
ค่าจ้างขั่นต่ํา
การทํางานล่วงเวลา และการทํางานในวันหยุด
การทํางานล่วงเวลา หมายถึง การทํางานนอกหรือเกินเวลาทํางานปกติหรือเกินชั่วโมงทํางาน
ในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน ในวันทํางานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี
ค่าล่วงเวลา หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทํางานล่วงเวลาใน
วันทํางาน
ค่าทํางานในวันหยุด หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทํางานใน
วันหยุด
ค่าล่วงเวลาในวันหยุดหมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทํางานใน
วันหยุด ลักษณะการทํางานล่วงเวลา และการทํางานในวันหยุด มีดังนี้
1. กรณีที่งานมีลักษณะต้องทําติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน
นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลา หรือทํางานในวันหยุดเท่าที่จําเป็นก็ได้
2. กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม
สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงกําหนด นายจ้างจะให้ลูกจ้างทํางานใน วันหยุดเท่าที่จําเป็นก็ได้
โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
3. กรณีที่มีการทํางานล่วงเวลาต่อจากเวลาทํางานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง นายจ้างต้องจัด
ให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทํางานล่วงเวลา (ยกเว้นงานฉุกเฉิน)
ลักษณะการจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
1. ถ้าทํางานเกินเวลาทํางานปกติของวันทํางาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า หนึ่ง
เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวน ชั่วโมงที่ทําหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของ อัตรา
ค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทําได้สําหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
2. ถ้าทํางานในวันหยุดเกินเวลาทํางานปกติของวันทํางาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาใน
วันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา
3. ถ้าทํางานในวันหยุดในเวลาทํางานปกตินายจ้างต้องจ่ายค่าทํางานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง ที่
มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง