Page 178 - การเป็นผู้ประกอบการ_Neat
P. 178
172
2. การยื่นคําร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาท
2.1 ยื่นคําร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีกําหนด
2.2 ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างทํางานอยู่ หรือที่นายจ้างมีภูมิลําเนา หรือ
ท้องที่ที่ลูกจ้างมีภูมิลําเนาอยู่ก็ได้
3. การพิจารณาคําร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน
3.1 เร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้างลูกจ้าง และพยานโดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวม
หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องด้วย
3.2 เมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ต้องมีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินหรือยกคําร้องทุกข์ของ
ลูกจ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
3.3 การรวบรวมข้อเท็จจริง และการมีคําสั่ง ต้องกระทําให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่
วันรับคําร้องทุกข์ไว้ดําเนินการ
3.4 ถ้าไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ให้ขอขยายระยะเวลา ต่ออธิบดีหรือ
ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน
4. การยุติข้อร้องทุกข์ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริง
4.1 ลูกจ้างสละสิทธิการเรียกร้องทั้งหมด
4.2 ลูกจ้างสละสิทธิเรียกร้องแต่บางส่วน โดยนายจ้างยินยอมจ่ายเงินบางส่วนแก่ลูกจ้าง
4.3 นายจ้างยินยอมจ่ายเงินทั้งจํานวนแก่ลูกจ้าง
บทกําหนดโทษ
1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญา
2. นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม จะมีบทลงโทษดังนี้
2.1 ขั้นต่ําปรับไม่เกิน 5,000 บาท
2.2 จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
3. การปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานคดีอาญา เป็นอันระงับ
4. การฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีบทลงโทษดังนี้
4.1 อธิบดีมีอํานาจเปรียบเทียบปรับสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ
4.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอํานาจเปรียบเทียบปรับสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นภายในจังหวัด
4.3 ชําระค่าปรับภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้งผลคดี คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน
4.4 ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชําระค่าปรับภายในกําหนด พนักงานสอบสวน ตํารวจ
จะดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป