Page 128 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 128

หน้า ๑๑๖                                                                             ส่วนที่ ๓



                             ๒.๑๒ หมวด ๙ การอุทธรณ์

                                    ๑) ก าหนดสิทธิอุทธรณ์ของผู้ขออนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอรับโอน
               ใบอนุญาต ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการอิสระ หรือผู้ขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการอิสระ

               ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาต ไม่ให้ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ให้โอนใบอนุญาต หรือศูนย์คุ้มครองผู้ให้
               บริการไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการอิสระ หรือไม่ต่ออายุการขึ้นทะเบียน
                                                                                                         ั
                                    ๒) ก าหนดสิทธิอุทธรณ์ของผู้รับอนุญาต หรือผู้ให้บริการอิสระ ในกรณีที่ถูกพกใช้
               ใบอนุญาต ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกลบชื่อออกจากทะเบียน
                                    ๓) ก าหนดระยะเวลาในการพิจารณาอุทธรณ์

                             ๒.๑๓ หมวด ๑๐ บทก าหนดโทษ
                                    ก าหนดโทษส าหรับการใช้เป็นมาตรการลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
               พระราชบัญญัตินี้ โดยก าหนดอัตราโทษให้สอดคล้องกับมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                             ึ
               ที่บัญญัติให้รัฐพงก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง จึงตัดโทษจ าคุกในบทบัญญัติที่ไม่เป็นความผิด
                                                                                             ื่
               ร้ายแรงออก และก าหนดบทสันนิษฐานความรับผิดทางอาญาของผู้บริหารนิติบุคคล เพอให้สอดคล้องกับ
               ค าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งก าหนดให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายมีอ านาจ
               เปรียบเทียบได้เฉพาะความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจ าคุกไม่เกินหนึ่งปี
                             ๒.๑๔ อัตราค่าธรรมเนียม

                                    ก าหนดอัตราค่าธรรมเนียมส าหรับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการให้บริการทาง
               เพศ ใบอนุญาตประกอบกิจการให้บริการทางเพศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การต่ออายุใบอนุญาต และใบแทน

               ใบอนุญาต เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

                                              ิ
                           อย่างไรก็ตาม ผลการพจารณาศึกษาและจัดท าร่างกฎหมายดังกล่าวนี้ คณะกรรมาธิการมีข้อสังเกต
               ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                            ั
                           ๑. กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรเร่งด าเนินการรวบรวม ศึกษา
               และแก้ไขปัญหาที่เป็นผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
               พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานจึงมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
               อีกทั้งกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ท าให้การค้าประเวณีลดลง แต่กลับท าให้ผู้ค้าประเวณีต้องถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

               จากการบังคับใช้กฎหมาย การถูกเลือกปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการถูกตีตราจากคนในสังคมว่าเป็น
               อาชญากร ดังนั้น กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงควรน ารายงานผลการศึกษาฯ ฉบับนี้
                                           ั
               ไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลหรือแนวทางในการศึกษาผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวด้วย
                                            ั
                           ๒. กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฐานะ
               ผู้บังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ ในขณะที่ยังไม่มีการแก้ไข
               ปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ควรต้องมีการขับเคลื่อนการด าเนินงานในการดูแล ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการ
               ค้าประเวณีที่มีอยู่ โดยปรับทัศนคติในการด าเนินงานให้อยู่บนพื้นฐานแนวคิดของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

               ตลอดจนการใช้งบประมาณที่สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณที่ค านึงถึงเพศภาวะ (Gender Responsive
               Budgeting: GRB) เพอรองรับการขับเคลื่อนการด าเนินงานในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งก าหนดนโยบาย
                                  ื่
               ด้านการคุ้มครองสิทธิ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นการป้องกันปัญหาการค้าประเวณี
               โดยไม่จ าเป็นต้องรอให้มีการแก้ไขกฎหมาย
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133