Page 39 - pdffile_Classical
P. 39

จำนวนมูลค่าผลผลิตของปลานิลระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2556

































               ที่มา :  พ.ศ. 2518 - 2551 ข้อมูลจากฝ่ายสถิติการประมง กองนโยบายและแผนงานประมง กรมประมง เรียบเรียงจาก
                    - เอกสารเผยแพร่ฉบับที่ 27 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง เรื่องการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล
                    - เอกสารเผยแพร่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ปี 2539
                    พ.ศ. 2556 เป็นตัวเลขประมาณการเบื้องต้น จากกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง


               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญในด้านการอนุรักษ์
               และการปรับปรุงพันธุ์ปลา จึงมีพระราชดำริให้พยายามรักษาพันธุ์แท้เอาไว้

               เพราะสังเกตเห็นว่าปลานิลตามท้องตลาด กลายพันธุ์ไป มีขนาดเล็กลงและโตช้า
               กรมประมงจึงได้น้อมรับมาดำเนินการปรับปรุงพันธุ์  โดยใช้ปลาพ่อแม่พันธุ์
               จากสวนจิตรลดาเป็นหลักในการควบคุมพันธุกรรม ทำให้ได้ปลานิลที่มีผลผลิตสูง

               อัตราการอยู่รอดสูง เนื้อมาก และเติบโตเร็ว ซึ่งรู้จักกันในนามของ  ปลานิล
               สายพันธุ์จิตรลดา 8
               ....................................................................................................................................

               8  มีการปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลเรื่อยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง
                 เป็น “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1” ตลอดจนร่วมพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลกับสถาบันวิจัยระดับนานาชาติ  เช่น
                 ในสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นต้น กระทั่ง พ.ศ. 2552 มีการพัฒนาสายพันธุ์เป็น “ปลานิลสายพันธุ์
                 จิตรลดา 4” มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา ให้ผลผลิตสูงกว่าปลานิลปกติประมาณร้อยละ 36
                 และกระจายพันธุ์สู่ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2554

                                                                                        37
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44