Page 53 - pdffile_Classical
P. 53

การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือ Check dam เป็นระบบการชลประทาน

               แบบง่ายๆ จากภูมิปัญญาของชาวไทยภูเขา ในลักษณะของฝายกั้นน้ำเล็กๆ
               ตามร่องน้ำธรรมชาติ เพื่อชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง รวมทั้งสามารถชักน้ำ
               จากฝายส่งผ่านตามท่อไม้ไผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปสองข้างลำห้วยลำธาร

               ช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นดินและชั้นบรรยากาศในบริเวณโดยรอบ ทำให้ป่า
               มีสภาพดีขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งเป็นการเก็บกักตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำ ยืดอายุ
               แหล่งน้ำตอนล่างมิให้ตื้นเขิน และสามารถใช้เป็นแนวทางป้องกันไฟป่าได้ด้วย


               รูปแบบฝายอนุรักษ์ต้นน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
               แนวพระราชดำริให้จัดทำ คือ ฝายแบบท้องถิ่นเบื้องต้น ที่สามารถสร้างได้ง่ายๆ

               ด้วยวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น  ฝายแบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร  เป็นฝาย
               ที่ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ  โดยก่อสร้างบริเวณตอนกลางและ

               ตอนล่างของลำห้วย ฝายแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร
               ส่วนมากก่อสร้างในบริเวณตอนปลายของลำห้วย  ทำให้สามารถดักตะกอน
               และเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี


               ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการสร้างฝาย

               จำนวน 396 แห่ง และฝายต้นน้ำอีกกว่า 10,000 แห่ง ทำให้มีน้ำใช้เพียงพอ
               เพื่อการพัฒนา
                                                                                        51
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58