Page 54 - pdffile_Classical
P. 54

นอกจากนี้ ยังพบว่าความชุ่มชื้นจากการสร้างฝายทำให้สภาพป่าฟื้นตัว
            ดีขึ้น จาก พ.ศ. 2527 ที่มีพรรณไม้ในป่าเต็งรังจำนวน 35 ชนิด มีความหนาแน่น

            ของต้นไม้ 117 ต้นต่อไร่ พรรณไม้ป่าเบญจพรรณจำนวน 46 ชนิด ความหนาแน่น
            ของต้นไม้ 183 ต้นต่อไร่ จนใน พ.ศ. 2540 พบว่า มีแนวโน้มการผสมผสานกัน

            ระหว่างป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณมากขึ้นจำนวน 81 ชนิด ความหนาแน่น
            ของต้นไม้ 248 ต้นต่อไร่
                                14


            จนถึง พ.ศ. 2549 มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้สนองแนวพระราชดำริก่อสร้าง
            ฝายต้นน้ำขึ้นในภูมิภาคต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้

            เป็นจำนวนมาก  โดยได้มีการรณรงค์สร้างฝายอนุรักษ์ต้นน้ำแบบผสมผสาน
            ประมาณ 110,000 แห่ง แบบค่อนข้างถาวรประมาณ 5,000 แห่ง และแบบถาวร
            ประมาณ 2,000  แห่ง  รวมทั้งหมดประมาณ 120,000  แห่ง  สามารถฟื้นฟู

            พื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรม 25  ลุ่มน้ำหลักของประเทศ  ทำให้เกิด
            ความอุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เป็นการจัดการทรัพยากรจากต้นน้ำ
            ณ จุดกำเนิด ป่าไม้สามารถฟื้นคืนกลับมาผลิตน้ำหล่อเลี้ยงประเทศได้ดังเดิม

            ....................................................................................................................................

            14  รายงานประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


     52
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59