Page 77 - pdffile_Classical
P. 77
แต่ทุกวันนี้ ความไม่สมดุลในประเทศไทยก็ยังคงมีอยู่ นอกจากนั้นยังจะมีปัญหา
ใหม่ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ต้องเผชิญอยู่อีกมาก และมีแนวโน้ม
ที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเกือบทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตหลายด้าน
จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นอภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลก จากการที่
23
ประชากรโลกใน พ.ศ. 2554 มีจำนวนสูงถึง 7 พันล้านคน ขณะที่ทรัพยากร
มีอยู่เท่าเดิม การมุ่งบริโภคนิยมมากเกินไป และการมีคุณธรรมความดีน้อยเกินไป
กำลังจะส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหาร พลังงาน สร้างความแตกแยก
และทำให้ประชาชนขาดสันติสุข 24
เราจึงจำเป็นต้องมีสติ ปัญญาและความรอบคอบในการ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้การพัฒนามีความสมดุลและพร้อมรับ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
โดยไม่ยึดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นเครื่องมือในการ
ประเมินผลเพียงอย่างเดียว โดยละเลยคุณค่าที่แท้จริงในชีวิต จนเกิดความ
ไม่สมดุลและขาดจิตสำนึก (Mindset) ที่ต้องมีความรู้คู่คุณธรรมที่จะพิจารณา
เรื่องต่างๆ ด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
อันเป็นหัวใจหลักตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานผ่านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2542
เป็นที่น่ายินดีว่า ตลอดระยะเวลากว่า 1 ทศวรรษที่หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงได้มีการเผยแพร่ในประเทศไทยผ่าน 8 ภาคส่วน ทั้งผู้นำ
ทางความคิด นักวิชาการในระดับอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง
องค์กรภาครัฐ สื่อมวลชนและประชาชน ภาคธุรกิจ ชุมชนและประชาสังคม
ซึ่งจากความพยายามทำให้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นแนวทาง
พื้นฐานสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
(พ.ศ. 2545 - 2549) และในฉบับต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนมีการกำหนด
ให้อยู่ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
....................................................................................................................................
23 Jeffrey D. Sachs. The Earth Institute, Columbia University.
24 สรุปจากบทความของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เรื่องอภิมหาอันตรายของประเทศไทยและของโลกกับปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
75