Page 4 - Psychology
P. 4
บทที่ 1
จิตวิทยาพัฒนาการ
พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพและปริมาณทั้งทางด้านร่างกาย อา
รม สังคม และสติปัญญา กระบวนการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันตลอดเวลา และมีลักษณะค่อย
เป็นค่อยไปมิใช่เกิดอย่างทันทีทันใด
พัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่มีรูปแบบ โดยเป็นไปอย่างมี
ขั้นตอนและต่อเนื่องกันไป ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ทําให้มีความสามารถและ
ลักษณะใหม่ๆ เกิดขึ้น
หลักการของพัฒนาการ
พัฒนาการด้านต่าง ๆ โดยทั่วไปของคนเรา เช่น พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาการด้านจริยธรรม
พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยเฉพาะพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นไปตามหลักของพัฒนาการ หลักการของ
พัฒนาการ (Principles of Development) มีดังนี้
1. พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง โดยจะมีลักษณะที่เป็นไปตามลําดับ ขั้นตอนของ
อินทรีย์แต่ละชนิด เช่น พัฒนาการของมนุษย์จะเกิดเป็นลําดับไปคือ พลิก คว่ํา นั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่ง เป็นต้น
ส่วนสัตว์ชั้นต่ํานั้นจะออกเป็นไข่ก่อนที่จะเกิดเป็นตัว
2. พัฒนาการจะเกิดเป็นทิศทาง โดยมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมี 2 ทิศทาง ดังนี้
2.1 พัฒนาการจะเริ่มจากส่วนบนลงสู่ส่วนล่าง มนุษย์จะพัฒนาจากศีรษะไปสู่ลําตัว ขา และเท้า
ตามลําดับ เช่น เด็กจะยกศีรษะได้ก่อนอวัยวะส่วนอื่น ๆ เป็นต้น
2.2 พัฒนาการจะเริ่มจากส่วนกลางไปสู่ส่วนนอก มนุษย์จะพัฒนาจากลําตัวไปสู่แขน มือ และนิ้ว
ตามลําดับ เช่น ทารกจะใช้แขนได้ก่อนที่จะใช้มือ หรือใช้ทั้งมือหยิบจับสิ่งของได้ก่อนที่จะใช้นิ้วมือ เป็นต้น
3. พัฒนาการจะเริ่มจากส่วนใหญ่หรือส่วนกว้างไปสู่ส่วนย่อยหรือส่วนที่เฉพาะเจาะจง เช่น
การมองเห็น ทารกจะเริ่มมองเห็นสิ่งที่ใหญ่ ๆ ก่อนที่จะมองเห็นส่วนที่เป็นรายละเอียด ในช่วงที่ยังเล็กอยู่นั้น
ทารกยังไม่สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้าได้ ต่อมา เมื่อสายตา
สามารถปรับภาพได้ดีขึ้น จึงมองเห็นความแตกต่างของใบหน้าของผู้ที่เลี้ยงดูกับคนแปลกหน้าได้ ในเรื่องของ
การเคลื่อนไหว ทารกจะเคลื่อนไหวทั้งตัวได้ก่อนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ต่อมาเมื่อมีพัฒนาการก้าวหน้ามากขึ้น
ก็จะใช้แขน – ขา มือ – เท้า และนิ้วมือ – นิ้วเท้า ได้ดีขึ้นตามลําดับ
4. พัฒนาการจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันไป โดยนับตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ จากนั้นก็จะมีการพัฒนา
ไปเป็นวัยก่อนคลอด วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และวัยชรา พัฒนาการจึงเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
ตามลําดับและนําความเปลี่ยนแปลงมาสู่ร่างกายตลอดเวลา โดยที่เราไม่สามารถจะหยุดการเปลี่ยนแปลงของ
ร่างกายได้ ฉะนั้นพัฒนาการระยะหนึ่ง ๆ จะเป็นรากฐานของพัฒนาการในระยะต่อไป
5. พัฒนาการทุกด้านจะสัมพันธ์กัน พัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจะมี
ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เด็กที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายไม่ดี มักจะมีปัญหาในการปรับตัวทางด้านอารมณ์
และสังคม ตลอดจนมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาอีกด้วย