Page 5 - Psychology
P. 5
หน้ า | 2
6. พัฒนาการในแต่ละวัยจะมีลักษณะเด่นเฉพาะ กล่าวคือ ในแต่ละวัยลักษณะบางอย่างจะพัฒนา
เร็วกว่าลักษณะอื่นๆ เช่น โดยทั่วไปทารกจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และการเคลื่อนไหวอย่างเห็นเด่นชัด
วัยเด็กตอนต้นมีพัฒนาการทางภาษาและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว และวัยชราจะแสดงลักษณะของ
ความเสื่อม เป็นต้น
7. พัฒนาการดําเนินไปควบคู่กับการเสื่อม เช่น การเติบโตของฟัน เด็กจะต้องสูญเสียฟันน้ํานม
ก่อนที่ฟันแท้จะขึ้น ในช่วงแรกของชีวิตเรามองเห็นพัฒนาการได้ชัดเจนกว่าการเสื่อม พอมาถึงช่วงกลางและ
ช่วงปลายของชีวิตจะมองเห็นการเสื่อมได้ชัดเจนกว่าการเติบโต
8. อัตราพัฒนาการของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะแตกต่างกัน ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ได้เจริญใน
อัตราที่เท่ากัน บางส่วนเจริญเร็ว บางส่วนเจริญช้า เช่น ขนาดของสมองจะเจริญถึงขีดสุดเมื่อเด็กมีอายุ
ประมาณ 6-8 ปี ส่วนมือ เท้า และจมูกจะเจริญถึงขีดสุดเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น หัวใจ ปอด ตับและระบบการย่อย
อาหารจะเจริญอย่างรวดเร็วเมื่อย่างเข้าสู่วันรุ่น เป็นต้น
9. อัตราพัฒนาการของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน คนเรามีพัฒนาการด้านต่าง ๆ แตกต่างกันเพราะได้รับ
อิทธิพลจากทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ที่ทํางานร่วมกัน ควบคู่กันไป ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคล
โดยแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปในลักษณะเฉพาะของตน เช่น เด็กบางคนเจริญเติบโตเร็ว บางคน
เจริญเติบโตช้า บางคนพูดได้เร็ว บางคนพูดได้ช้า เป็นต้น
ทฤษฎีพัฒนาการ (Theories of Development)
1. ทฤษฎีพัฒนาการความต้องการทางเพศและทางบุคลิกภาพ
รูปที่ 1 ซิกมันด์ ฟรอยด์
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการความต้องการ
ทางเพศและทางบุคลิกภาพ ( Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศใน
เด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยัง ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย