Page 2 - การใช้ทวน
P. 2

แผนการเรียนรู้ที่ 2

                  ชื่อหน่วย  การใช้อาวุธทวนประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง จํานวน  4  คาบ
                  รายวิชา ทักษะการแสดง 2                                           ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4

                                                                                      วันที่ 12  กรกฎาคม 2559

                  ..........................................................................................................................................................
                  สาระสําคัญ
                         ทวนเป็นอาวุธสําหรับพลช้างพลม้า  มีผู้เริ่มใช้เมื่อประมาณ  300    ปีก่อนพุทธศักราช  โดย

                  ทหารม้าแถบยุโรปได้ดัดแปลงมาจากหอก  ต่อมาได้เป็นอาวุธของพวกอัศวินและผู้มีฐานะดี  จนเมื่อมี

                  อาวุธที่ทันสมัยทวนจึงถูกเลิกใช้  สําหรับประเทศไทยน่าจะมีการใช้ทวนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว  และ

                  จากหลักฐานในสมัยต่อมาก็มีการใช้ทวนรบเช่นกัน  ทวนเป็นอาวุธยาว  มีความยาวประมาณ  3 - 4.5

                  เมตร
                         ทวนที่ใช้ประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  จําลองแบบจากทวน

                  จริงโดยย่อส่วนให้เล็กลง  มีความยาวประมาณ  1.60  เมตร  และทําจากไม้ทั้งหมด  การถือทวนเพื่อรํา

                  นั้นจะแบ่งทวนออกเป็น  3  ส่วน  ประกอบด้วย  ด้ามทวน  กลางทวน  และปลายทวน

                         ทวนเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบในการแสดง  ซึ่งมีวิธีการถือทวนเพื่อรํา  2    ลักษณะ  คือ

                  ถือทวนมือเดียว  และถือทวนสองมือ  ซึ่งแต่ละลักษณะมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันออกไป  ได้แก่  การแทง
                  และการปัดทวน  การฉายทวน   การเลาะทวน  การตีทวนด้านบน  การตีทวนด้านล่าง  การตีด้ามทวน

                  การตีทวนแสกหน้า  การขยับทวน  ท่าผ่าหมาก  การพุ่งทวน  การยืนม้าและการขับม้าด้วยทวน  การปัด

                  เกล้าด้วยทวน


                  จุดประสงค์การเรียนรู้

                         จุดประสงค์ปลายทาง
                         1.   นักศึกษาสามารถปฏิบัติท่ารําในการใช้อาวุธทวนประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

                              ตอนศึกกะหมังกุหนิง  (สังคามาระตารบวิหยาสะกํา) ได้อย่างถูกต้อง

                         จุดประสงค์นําทาง

                         1.   นักศึกษาสามารถอธิบายวิธีการใช้อาวุธทวนในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา
                              ตอนศึกกะหมังกุหนิง  (สังคามาระตารบวิหยาสะกํา) ได้อย่างถูกต้อง

                         2.  นักศึกษาสามารถปฏิบัติท่ารําในการใช้อาวุธทวน  ประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา
                             ตอนศึกกะหมังกุหนิง  (สังคามาระตารบวิหยาสะกํา)

                         3.  นักศึกษาสามารถใช้นาฏยศัพท์ประกอบการใช้อาวุธทวนในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

                             ตอนศึกกะหมังกุหนิง  (สังคามาระตารบวิหยาสะกํา)ได้อย่างถูกต้อง
   1   2   3   4   5   6   7