Page 86 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 86
๖๘
(๓) ลาออกจากความเป็นพระธรรมทูต
(๔) พ้นจากความเป็นพระภิกษุ
(๕) คณะกรรมการส านักฝึกอบรมให้พ้นจากความเป็นพระธรรมทูต
(๖) ถูกเพิกถอนหนังสือเดินทาง เนื่องจากความประพฤติตนไม่เหมาะสม
ส าหรับขั้นตอนการขออนุมัติเดินทางไปประกอบศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ
นั้น (ตัวอย่างของธรรมยุต) มีดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ พระธรรมทูตยื่นใบสมัครฯ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบต่าง ๆ
ต่อเจ้าอาวาสวัดในต่างประเทศที่ขอไปปฏิบัติศาสนกิจ
ขั้นตอนที่ ๒ เจ้าอาวาสหรือประธานกรรมการบริหารคณะสงฆ์ในต่างประเทศ ส่งเรื่อง
ให้ประธานกรรมการบริหาร หรือหัวหน้าพระธรรมทูตในประเทศนั้น ๆ พิจารณาเสนอขออนุมัติ
และส่งให้ส านักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) ด าเนินการ ในกรณีที่วัดใน
ต่างประเทศไม่มีคณะกรรมการบริหารประจ าประเทศนั้น ๆ ให้เจ้าอาวาสวัดยื่นเรื่องต่อส านักฝึกอบรม
พระธรรมทูตไปต่างประเทศโดยตรง
ขั้นตอนที่ ๓ เมื่อส านักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้รับเรื่องแล้ว
จะตรวจสอบความถูกต้อง เสนอพระเถระที่คณะธรรมยุตมอบหมายให้พิจารณากลั่นกรองตามล าดับ
และเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาอนุมัติแล้ว ก็จัดส่งส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด าเนินการ
แจ้งกระทรวงการต่างประเทศ (กรมการกงสุล) เพื่อออกหนังสือเดินทาง
ขั้นตอนที่ ๔ พระธรรมทูตตรวจดูรายชื่อในมติมหาเถรสมาคม โดยสามารถตรวจสอบได้
ที่เวปไซต์ http://www.onab.go.th/MatiMaha/news.htm หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ส านักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ส่วนศาสนวิเทศ)
ทั้งนี้ภิกษุผู้ที่ต้องการจะท างานเป็นพระธรรมทูตนั้นจะต้องผ่านหลักสูตรการอบรม
ได้วุฒิบัตรเสียก่อน ภิกษุที่เดินทางไปท างานเป็นพระธรรมทูตนี้เป็นผู้เสียสละอย่างยิ่ง เพราะโดย
หลักการแล้วพระธรรมทูตที่ได้นิตยภัตจะได้เพียงบางรูปซึ่งเป็นมติมาตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น พระธรรมทูต
สายอินเดีย มีพระปัญจวรรค ๕ รูป ที่เป็นพระธรรมทูตอย่างเป็นทางการเท่านั้นที่จะได้นิตยภัตจาก
ทางราชการ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีมติเปลี่ยนแปลง
๓.๒.๔ คุณสมบัติของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
คุณสมบัติของพระธรรมสายต่างประเทศ ควรประกอบด้วยคุณสมบัติของพระธรรมทูต
ตามแบบอย่างในสมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปที่พระธรรมทูตควรมี เพื่อให้การเผยแผ่
พระพุทธศาสนาประสบผลส าเร็จ และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีนักวิชาการในยุคปัจจุบันกล่าวถึงไว้ดังนี้
ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงคติธรรม ๓ ประการ ซึ่งพระธรรมทูตควรพิจารณาและพัฒนา
ให้มีขึ้นในตัวเอง ดังนี้