Page 81 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 81
๖๓
ในขณะเดียวกันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศไปสู่ผู้ที่ยังไม่มีความศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา รวมไปถึงการรักษาศรัทธาของผู้ที่มีความศรัทธาอยู่แล้ว ให้มีความมั่นคงหนักแน่น
ยิ่งขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ส าคัญของพระธรรมทูตคือพระสงฆ์ที่เป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ที่ต้อง
๑๐
ท าหน้าที่เป็นผู้น าของพุทธศาสนิกชน ในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป
ทั้งนี้ นอกจากพระสงฆ์ที่เป็นพระธรรมทูตได้ท าหน้าที่ในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้
เกิดมีความมั่นคงภายในประเทศแล้ว การเผยแผ่หลักธรรมค าสอนของพุทธศาสนาไปสู่ประเทศอื่น
ก็เป็นหน้าที่ส าคัญของพระสงฆ์ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อการด ารงอยู่และการแพร่กระจายหลักธรรม
ค าสอนของพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การด าเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน
ต่างประเทศนั้น จะส่งผลให้พุทธศาสนิกชนในประเทศต่าง ๆ จะได้รับรู้ถึงแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง
ตามหลักธรรมค าสอน อันจะส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและเกิดความมั่นคง
ในโลกสืบไป
สรุปได้ว่าพระธรรมทูต หมายถึง พระสงฆ์สาวกที่ท าหน้าที่เผยแผ่ธรรมะเชิงรุกโดยมี
เป้าหมายและหลักการตามค าสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมทูตไทยยุคใหม่
คือ ผู้แทนของคณะสงฆ์ไทยที่ได้รับการฝึกฝนอบรมในหลักการและวิธีการเพื่อมอบหมายให้ไปท างาน
เผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
๓.๒ ระเบียบปฏิบัติส าหรับพระธรรมทูตสายต่างประเทศในปัจจุบัน
ในงานของพระธรรมทูตสายต่างประเทศนั้น คณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคมได้จัดส่ง
พระภิกษุที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพระธรรมทูตสายต่างประเทศออกไปปฏิบัติศาสนกิจ
ประจ าตามวัดไทยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีจ านวนวัดไทยในต่างประเทศมากกว่า ๓๐๐ วัด
ใน ๒๖ ประเทศ โดยมุ่งให้วัดไทยเผยแผ่หลักพระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างประเทศให้สามารถเข้าใจ
๑๑
หลักธรรมและน าไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้จริง และเพื่อให้วัดไทยในต่างประเทศเป็นสถานที่ศึกษา
พระพุทธศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมไทยของชาวต่างประเทศที่มีความสนใจ มหาเถรสมาคมได้
๑๒
จัดตั้งส านักงานก ากับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้น ส่วนการด าเนินกิจการของพระธรรมทูตนั้น
ได้แยกกันระหว่างมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย พระธรรมทูตไปต่างประเทศต้องผ่านหลักสูตรการ
อบรมเสียก่อน โดยแต่ละนิกายจัดอบรมแยกกัน ทางมหานิกายมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช-
๑๐ ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ประวัติความส าคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา.
(กรุงเทพมหานคร: ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๓), หน้า ๕๓.
๑๑ พระธรรมรินทร์ โภคาภรณ์, งานพระธรรมทูตประเทศอินเดีย- เนปาล พระเทพโพธิวิเทศ
(วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ), (พุทธคยา อินเดีย: ส านักงานพระธรรมทูต วัดไทยพุทธคยา อินเดีย, ๒๕๕๖), หน้า ๓๕.
๑๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๐.