Page 80 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 80

๖๒





                                 ในประเด็นของความหมายพระธรรมทูตนี้ ได้มีนักวิชาการทางพระศาสนาได้ให้
                       ความหมายไว้ดังนี้คือ

                                 พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) ได้กล่าวถึงความหมายของพระธรรมทูตไว้ว่า
                       ‘พระธรรมทูต’ ที่ชาวบ้านเข้าใจกัน หมายถึงพระภิกษุผู้น าธรรมะไปเผยแผ่ให้แก่ประชาชน ส่วนใน

                       ภาษาบาลี หมายถึงผู้ได้รับมอบหมายให้น าข่าวหรือธรรมะไปบอกหรือไปเผยแผ่แทนคณะสงฆ์

                       เพราะค าว่า ‘ทูต’ มาจากรูปวิเคราะห์ว่า โย เปสิยเต โส ทูโต แปลว่า ผู้ใดถูกส่งไปแจ้งข่าว (หรือค า
                       สอน) หรือได้รับมอบหมายให้ไปติดต่อสื่อสารผู้นั้นชื่อว่าเป็นทูต ส่วนในทางโลก ทูตหมายถึง ผู้ที่ได้รับ

                       มอบหมายให้ไปติดต่อสื่อสารงานราชการต่างบ้านต่างเมือง ตลอดถึงธุรกิจต่าง ๆ กับนานา
                       อารยประเทศ แต่ในทางธรรมหรือในทางศาสนา ท่านน าเอาค าว่า ‘ธรรมะ’ มาน าหน้า ‘ทูต’

                       จึงส าเร็จรูปเป็น ‘ธรรมทูต’ เพราะฉะนั้น ‘ธรรมทูต’ โดยความหมาย ได้แก่ ผู้ท าหน้าที่เป็นทูตทาง

                       ธรรมนั่นเอง ซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ถ้าเป็นภิกษุเรียกว่า ‘พระธรรมทูต’ และมีทั้งพระธรรมทูต
                                                                                                ๗
                       ฝ่ายในประเทศและฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ไปเผยแผ่พระศาสนา
                                 พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายการท างานของพระธรรมทูตว่า เทียบได้กับทางฝ่าย

                       บ้านเมืองที่มี ราชทูต มีรัฐทูต ทูตในทางบ้านเมืองนั้นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ เป็นเรื่อง
                       ของโลกมนุษย์ที่มีการแบ่งเป็นหมู่เป็นชนชาติ แต่ละชนชาติก็ย่อมพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนเอง

                       ราชทูต รัฐทูต จึงท าหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศนั้น ๆ ไปเจรจาเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของ
                       ประเทศของตน แตกต่างจากธรรมทูต ซึ่งมีหน้าที่น าธรรมะไปเผยแผ่แก่ประชาชนในดินแดนที่ไป

                       เป็นทูต เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในดินแดนนั้น พระสงฆ์คือผู้ท าหน้าที่ธรรมทูตมาแต่เดิม ตั้งแต่

                       ยุคพระอรหันตสาวกรุ่นแรก ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพรหมจรรย์
                                                                                    ๘
                                 ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายของมหาเถรสมาคม

                       เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๐ ได้แสดงความหมายของพระธรรมทูตไว้ว่า คือพระภิกษุที่ท าหน้าที่เผยแผ่
                       พระพุทธศาสนาเชิงรุก โดยน าหลักธรรมเข้าหาประชาชนทุกถิ่นที่ เป็นกลุ่มพระภิกษุที่ผ่านการฝึก

                       วิธีการ หลักการอธิบายธรรมะและเป็นผู้มีความรู้ดี และปฏิบัติดี ท าหน้าที่เสมือนทูตทางธรรม คือเป็น

                       ผู้น าหลักธรรมค าสอนทางพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่แก่ประชาชนถึงถิ่นที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น
                       พระธรรมทูตในประเทศ และพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
                                                                      ๙



                                 ๗  พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร), “วิถีแห่งพระธรรมทูต”, ใน พระธรรมทูตสาย

                       ต่างประเทศ รุ่นที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๑๒๔-๑๒๙.
                                 ๘  พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พระธรรมทูตในต่างประเทศ, พิมพครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร:
                       มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๒๕, ๓๖.

                                 ๙  ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, แผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๕๔-
                       ๒๕๕๙, (กรุงเทพมหานคร:  ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๔), หน้า ๓๔.
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85