Page 75 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 75

๕๗


                                 คุณสมบัติของพระธรรมทูตตามแนวโอวาทปาฏิโมกข์มี ๓ ด้านคือ
                                 ๑. ด้านบุคลิกภาพ พระธรรมทูตจะต้องเป็นผู้มีความอดทนไม่แสดงกิริยาท่าทีอันจะท าให้

                       เสียบุคลิกภาพ “ความอดทน ความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง” เป็นผู้รู้จักข่มจิตใจ การปฏิบัติหน้าที่ไม่
                       เห็นแก่ความยากล าบาก ยอมตรากตร าท างานเพื่อพระศาสนา

                                 ๒. ด้านคุณธรรม พระธรรมทูตจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมเป็นอุดมคติประจ าตัวซึ่งคุณธรรม

                       พื้นฐานของพระธรรมทูตในโอวาทปาฏิโมกข์ คือ “การไม่ท าบาปทั้งปวง การท ากุศลให้ถึงพร้อม การ
                       ท าจิตของตนให้ผ่องแผ้ว” ถือเป็นคติประจ าตัวที่พระธรรมทูตไม่ท าบาปทั้งทางกาย วาจาและใจ เป็น

                       ผู้ท าแต่ความดี สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เป็นผู้มีจิตใจเบิกบาน มีความเมตตาปราณีต่อทุกคน
                       มีความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์

                                 ๓. ด้านการด าเนินชีวิต พระธรรมทูตจะต้องด าเนินชีวิตเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน มีชีวิต

                       แบบเรียบง่าย ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นผู้ส ารวมระวังในการบริโภคใช้สอยเสนาสนะ

                                 ประเด็นที่ ๕ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวก กล่าวคือการจาริกไปในที่ต่าง ๆ

                       ของพระสาวก ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นอันมาก ตามแต่ความ
                       เชี่ยวชาญของแต่ละท่าน ตัวอย่างพระสาวกที่ยกมานี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นเพราะว่าพระสาวกรุ่น

                       แรกมีจ านวน ๖๐ รูป ในการท าหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นต้นแบบของ

                       พระธรรมทูต ในประเด็นนี้เมื่อเปรียบเทียบกับการออกไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศของ
                       พระธรรมทูตในยุคปัจจุบัน พระอรหันตสาวก ๖๐ รูปแรกที่จาริกประกาศพระศาสนาจัดว่าเป็น

                       พระธรรมทูตชุดแรกในพระพุทธศาสนา สิ่งหนึ่งที่พระสาวกรุ่นต่อมาต้องเข้าใจให้ชัดเจนคือ พระสาวก
                       ผู้ท าหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาลนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระอรหันต์หรือพระอริยบุคคล

                       ระดับรองลงมา การเผยแผ่พระศาสนาจึงส าเร็จผลได้เป็นอย่างดี และพระสาวกผู้ท าหน้าที่เผยแผ่

                       พระศาสนาแต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว ไม่ใช่ทุกท่านที่จะมีความเชี่ยวชาญทุกด้านหรือมี
                       ความรู้ทุกเรื่อง แต่ทุกท่านมีความรู้ธรรมที่เป็นแก่น หลักส าคัญในพระพุทธศาสนาจึงท าให้การเผยแผ่

                       พระพุทธศาสนาส าเร็จได้ในระดับสูง การศึกษาความเป็นมาของการประกาศพระพุทธศาสนาและการ
                       เผยแผ่พระพุทธศาสนาท าให้พระภิกษุสงฆ์สาวกในยุคหลังมีต้นแบบและวิธีการที่สามารถใช้เป็น

                       แบบอย่างของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แม้จะยังไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระธรรมทูตในสมัย

                       พุทธกาลก็ตาม สิ่งที่ต้องมีคือความรู้ในแก่นหรือหลักการส าคัญของพระพุทธศาสนา โดยสามารถ
                       ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยตนเองจากพระคัมภีร์เพื่อน ามาพัฒนาแนวทางการเผยแผ่

                       พระพุทธศาสนาของตนเอง และฝึกฝนประพฤติปฏิบัติพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติที่จ าเป็นต่อการท า

                       หน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80