Page 74 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 74
๕๖
สร้างแรงจูงใจและความสนใจให้ผู้อื่นหันมานับถือพระพุทธศาสนาตามด้วยและที่ส าคัญเป็นก าลังบ ารุง
อุปถัมภ์ค้ าชูภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ด้วย
ประเด็นที่ ๓ พระสาวกที่ออกไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างถิ่น ในรูปแบบของการจัด
โครงสร้างองค์กร เป็นการบริหารจัดการคณะสงฆ์ในรูปแบบเป็นโครงสร้างที่มั่นคง มีพระพุทธเจ้าเป็น
ศูนย์กลางการบริหารจัดการ มีพระมหาสาวกเอตทัคคะท าหน้าที่เป็นบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ มีเจ้าคณะ
เจ้าส านัก อุปัชฌาย์อาจารย์ ควบคุมดูแลภิกษุสงฆ์ลดหลั่นกันไปตามหน้าที่ที่พึงปฏิบัติระหว่าง
อุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก และระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก ไม่มีการแบ่งเขตปกครองหรือมอบหมาย
ให้ภิกษุรูปหนึ่งรูปใดท าหน้าที่ควบคุม ทุกส านัก (วัด) มีอุปัชฌาย์อาจารย์ดูแลศิษย์ของตน ทุกส านัก
เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า โดยมีพระธรรมวินัยเป็นกรอบของการปฏิบัติ ส่วนหนึ่งของ
การเผยแผ่พระศาสนาจึงเท่ากับการจัดตั้งองค์กรพระพุทธศาสนา เป้าหมายจึงไม่ได้อยู่เพียงการ
ประกาศพรหมจรรย์ เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมกระบวนการจัดการพุทธบริษัท
๔ ด้วย เพราะองค์ประกอบศาสนาจะต้องมีศาสดา หลักธรรม สาวก พรตหรือพิธีกรรม ไม่ใช่
ตั้งเป้าหมายไว้โดยไร้ทิศทาง ต้องวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย เมื่อมีองค์พระศาสดาพร้อม
แล้ว มีหลักธรรมพร้อมแล้ว ก าลังส าคัญในการจัดตั้งองค์การพระศาสนาที่ยังขาดอยู่ก็คือสาวก ซึ่ง
หมายถึงพุทธบริษัท ๔ ซึ่งท าหน้าที่รับรองการตรัสรู้ของพระองค์ มารับรองหลักธรรมของพระองค์ว่า
อัศจรรย์จริง มีผลดีแก่ผู้น าไปประพฤติปฏิบัติจริง คนต่อคน กลุ่มต่อกลุ่ม ก็จะเป็นฐานเสียงประกาศ
พระศาสนาช่วยพระองค์อย่างกว้างขวางอีกทางหนึ่ง ไม่ใช่พระองค์ทรงประกาศพระศาสนาพระองค์
เดียว แต่ว่าผู้มาช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจาก ๕ เป็น ๖ เป็น ๑๐ เป็น ๖๐ ซึ่งเป็นพระอรหันตสาวกที่จะทรง
จัดส่งไปประกาศพระศาสนาในถิ่นต่าง ๆ ได้
ประเด็นที่ ๔ ความเป็นมาของพระธรรมทูตในสมัยพุทธกาล มีการใช้ค าว่า ทูต คือบุคคล
ผู้ท าหน้าที่แทนบุคคลหรือกลุ่มคน ในการน าส่งข่าวสารหรืออื่น ๆ ไปสู่อีกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เป็น
บุคคลใดก็ได้ มีสถานภาพใดก็ได้ เช่น ภิกษุ สามเณร ภิกษุณี สิกขมานา สามเณรีหรือคฤหัสถ์ จาก
พระด ารัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสแก่พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรกและส่งพระสาวกออกไปเผยแผ่
พระศาสนาในครั้งนั้นคือไปท างานเป็นพระธรรมทูต
ส่วนค าว่า พระธรรมทูต ที่ใช้ในปัจจุบันนี้หมายถึง ภิกษุที่เดินทางไปแสดงธรรมในที่ต่าง ๆ
ท าหน้าที่เหมือนทูตทางธรรมหรือทูตของพระศาสนา อาจใช้ค าว่าพระธรรมจาริก มีความหมาย
เช่นเดียวกับพระธรรมทูตปัจจุบันในประเทศไทย แบ่งพระธรรมทูตเป็น ๒ ประเภท คือ พระธรรมทูต
ในประเทศกับพระธรรมทูตสายต่างประเทศ