Page 73 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 73
๕๕
๘) พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ จาริกไป ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ
เชื่อกันว่า ได้แก่ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม
๙) พระมหาธรรมรักขิตเป็นหัวหน้าคณะจาริกไป ณ แคว้นมหาราษฎร์ ดินแดนแถบ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๒๔
พระธรรมทูตทั้ง ๙ สายนี้ ประกอบด้วยพระธรรมทูตที่เดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้ง
ดินแดนรอบต้นก าเนิดและดินแดนนอกต้นก าเนิดของพระพุทธศาสนา จนในที่สุดพระพุทธศาสนาได้
เผยแผ่มาถึงประเทศไทยและเจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ท าให้เห็นภาพได้ว่า
การส่งพระธรรมทูตออกเดินทางไปนอกดินแดนต้นก าเนิดมีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้า
อโศกมหาราช ซึ่งการที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตทั้ง ๙ สายออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน
ครั้งนั้นถือเป็นตัวแบบหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในปัจจุบัน
๒.๗ สรุปความ
จากการศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในคัมภีร์เถรวาทสามารถสรุปเป็นประเด็น
ดังต่อไปนี้
ประเด็นที่ ๑ ความเป็นมาของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรง
ด ารงพระชนม์ชีพ โดยส่วนมากจะผ่านการถ่ายทอดพระธรรมค าสอนของพระพุทธองค์ไปสู่พระสงฆ์
สาวกเป็นหลัก พระสาวกผู้ท าหน้าที่เผยแผ่พระศาสนาหรือเผยแผ่พระธรรมค าสอนของพระพุทธองค์
นั้น ท าหน้าที่ภายใต้หลักการพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มหาชน นั่นคือ
เพื่อให้ชนจ านวนมากได้รับประโยชน์จากพระธรรมค าสอนในพระพุทธศาสนามากที่สุด ผู้ที่จัดว่าเป็น
ต้นแบบของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้แก่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดา รวมถึงพระอรหันต
สาวกผู้ท าหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยยึดถือหลักการที่พระพุทธองค์ทรงประทานไว้แก่พระสาวก
ผู้เป็นพระอรหันต ๖๐ รูป ผู้ท าหน้าที่ประกาศพระศาสนาในช่วงแรก ใช้เป็นโอวาทในการท าหน้าที่
และเป็นหลักการที่พุทธบริษัทสี่ใช้จนถึงปัจจุบัน
ประเด็นที่ ๒ วิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจาะจง
กลุ่มเป้าหมายที่ชนชั้นผู้น าทางสังคม คือชนชั้นปกครองหรือตระกูลใหญ่ ๆ เพราะชนชั้นปกครอง
ครอบคลุมถึงเจ้าผู้ครองแคว้น มหาอ ามาตย์ราชปุโรหิตย์ผู้ใหญ่ และตระกูลใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น
พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล เป็นระดับเศรษฐีที่มั่งคั่ง ถ้าได้บุคคลระดับนี้เข้ามาเป็นพุทธ
บริษัทจะเป็นก าลังส าคัญในการเผยแผ่พระศาสนา ทั้งเป็นผู้อุปภัมถ์ช่วยคุ้มครองป้องกันพุทธบริษัท
๑๒๔ วศิน อินทสระ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่
๒, หน้า ๗๑-๗๔.