Page 72 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 72
๕๔
๑๒๒
และมีการตรวจสอบผู้ปลอมบวชจนท าให้เหลือเพียงพระภิกษุที่แท้จริง เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ได้รวบรวมดินแดนในชมพูทวีปให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ ด้วยการเข่นฆ่า
ประชาชนไปเป็นจ านวนมาก รวมถึงพระญาติของพระองค์ท าให้พระองค์รู้สึกสลดพระทัย ภายหลังได้
หันมานับถือพระพุทธศาสนาหลังจากได้พบสามเณรนิโครธและน าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามา
เป็นหลักในการปกครองเรียกว่า ธรรมวิชัย และได้ทรงเขียนศิลาจารึกเพื่อประกาศนโยบายการบริหาร
ประเทศตามที่ต่าง ๆ และสร้างเสาอโศกเพื่อแสดงถึงสถานที่ส าคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา
ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชมีการตั้งองค์กรพระธรรมทูตส่งไปประกาศธรรมปฏิบัติทั่ว
ราชอาณาจักรของพระองค์และในดินแดนไกล ได้แก่ เอเชียตะวันตก ยุโรปตะวันออก แอฟริกา
๑๒๓
เหนือ พระเจ้าอโศกทรงมีประสงค์ส่งพระภิกษุออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในทิศทางต่าง ๆ
ทั้งหมด ๙ สาย ดังนี้
๑) พระมหินทเถระ พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้าคณะพร้อม
ด้วยพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณร จาริกไปที่
เกาะลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา)
๒) พระมัชฌันติกเถระ เป็นหัวหน้าคณะจาริกไป ณ แคว้นคันธาระ และกาศมีระ
(ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐปัญจาป และรัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย ตามล าดับ)
๓) พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะ จาริกไป ณ มหิงสกมณฑล แถบตอนใต้ของ
ลุ่มน้ าโคธาวรี (ปัจจุบันคือรัฐไมซอร์ ประเทศอินเดีย)
๔) พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะจาริกไป ณ วนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นกนรา
เหนือ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
๕) พระธรรมรักขิตเถระหรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะจาริกไป
ณ อปรันตกชนบท (ปัจจุบันคือแคว้นทางชายทะเลทางตอนเหนือของเมืองบอมเบย์หรือมุมไบ
ประเทศอินเดีย)
๖) พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะจาริกไป ณ โยนกประเทศ ดินแดนที่อยู่ใน
ความยึดครองของกรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่านขึ้นไปจนจรดเตอรกีสถาน
๗) พระมัชฌิมเถระ เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยพระเถระ ๔ รูป ได้แก่
พระกัสสปโคตะ พระมูลกเทวะ พระทุนทภิสสร และพระเทวะ จาริกไป ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย
(สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือ ประเทศเนปาล)
๑๒๒ วศิน อินทสระ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่
๒, (กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๓๕), หน้า ๖๑-๗๒.
๑๒๓ นวม สงวนทรัพย์, พระเจ้าอโศกราชมหาราช, (กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓),
หน้า ๗๕-๗๗.