Page 67 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 67
๔๙
ส่วนเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระสาวกเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้การบรรพชาแก่
กุลบุตรผู้มีศรัทธาทั่วไปนั้น เป็นการมอบอ านาจบางประการให้พระสาวกได้ปกครองกัน ในลักษณะ
ของอุปัชฌาย์ปกครองสัทธิวิหาริกและอาจารย์ปกครองอันเตวาสิกของตน โดยพระพุทธองค์ทรงแสดง
หลักการของพระศาสนาที่เรียกว่า “โอวาทปาฏิโมกข์” เพื่อเป็นหลักการของพระศาสนา และการ
ด าเนินชีวิตร่วมกันของพระสาวก ดังนั้น ในการปกครองคณะสงฆ์ในระยะเริ่มแรก จึงเป็นการปกครอง
ในรูปลักษณ์ที่ขึ้นตรงต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงด าเนินการปกครองและให้การศึกษาแก่
พระสาวกด้วยตัวพระองค์เอง และมอบหน้าที่ให้พระอุปัชฌาย์ดูแลบ้าง เพราะลักษณะของงานของ
พระศาสนาระยะนี้ เป็นงานด้านการเผยแผ่หลักค าสอนของพระพุทธองค์เป็นส่วนมาก พระภิกษุใน
พระพุทธศาสนามีสถานะของอนาคาริกที่จาริกไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อประกาศหลักค าสอนของ
พระพุทธเจ้า ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพ พระศาสนาจึงแผ่ไปอย่างรวดเร็วและ
เข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในเวลาต่อมา พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาต ให้ภิกษุให้การ
อุปสมบทแก่สตรีที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี อันสืบเนื่องมาจากการร้องขอของพระนางมหาปชาบดี
โคตมีและมีพระอานนท์เป็นผู้ทูลช่วยเหลือให้ได้รับการอุปสมบท พระนางมหาปชาบดีโคตมี จึงนับได้
ว่าเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา เป็นการบวชด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการจากพระพุทธ
องค์ และต่อมาก็บวชให้แก่เหล่าบริวารของพระนางมหาปชาบดีโคตมีท าให้มีพุทธบริษัทเป็น ๔ กลุ่ม
(ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา) จึงท าให้รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในช่วงระยะต่อมาเป็นงาน
ด้านการปกครอง เพื่อให้การศึกษา และการเผยแผ่พระศาสนาเป็นส่วนมาก ในกรณีนี้ เมื่อพระพุทธ
องค์ทรงเห็นว่ามีพระสงฆ์สาวกเพิ่มมากขึ้นเป็นจ านวนมาก งานของพระศาสนาเป็นไปอย่างกว้างขวาง
สังคมสงฆ์กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่ สมควรที่จะมอบหมายภาระให้หมู่สงฆ์ได้ปกครองกันเอง
เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองคณะสงฆ์โดยหมู่สงฆ์เอง พระพุทธองค์จึงได้ทรงยกเลิกการบวชด้วย
วิธีไตรสรณคมน์ และทรงอนุญาตให้มีการบวชด้วยวิธี “ญัตติจตุตถกรรมวาจา” และได้น าวิธีการบวช
แบบไตรสรณคมน์ ไปใช้กับการบวชของสามเณรแทนซึ่งสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ครั้นพระพุทธองค์ทรงอนุญาตการบวชให้เป็นกิจของสงฆ์ หรือมอบหมายความเป็นใหญ่ให้
สงฆ์อย่างเต็มที่แล้ว ทรงงดการอุปสมบทให้แก่ใคร ๆ ทรงท าหน้าที่สั่งสอนและดูแลภายในองค์กร
คณะสงฆ์โดยทั่วไป พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธประสงค์อย่างแน่นอนที่จะให้สงฆ์ปกครองกันเอง โดย
ทรงบัญญัติพระธรรมวินัยเป็นหลักในการปกครอง ไม่ทรงปรารถนาให้พระเถระรูปหนึ่งรูปใดมีอ านาจ
หน้าที่ในการปกครอง ดังปัจฉิมโอวาทที่ตรัสกับพระอานนท์ก่อนที่จะดับขันธปรินิพพานว่า “อานนท์
พระธรรมวินัยใดที่เราแสดงและบัญญัติไว้เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว พระธรรมและวินัยนั้นแหละจักเป็น
๑๑๒
พระศาสดาของเธอทั้งหลาย”
๑๑๒ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๔.