Page 64 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 64

๔๖


                       การให้บรรพชาสามเณรตั้งแต่นั้นมา จึงท าให้พระอุปัชฌาย์มีบทบาทที่ส าคัญในการบรรพชาและ
                       อุปสมบท เพราะจะต้องอบรมสั่งสอนให้รู้จักวัตรปฏิบัติของพระภิกษุรวมทั้งให้ความรู้เรื่องพระธรรม

                       วินัยด้วย โดยปกติแล้วท่านจะให้พระนวกะ (ผู้บวชใหม่) อาศัยอยู่กับพระอุปัชฌาย์ อย่างน้อย
                       เป็นเวลาถึง ๕ ปี เพื่อป้องกันการปฏิบัติไม่ถูกต้องของพระนวกะ เช่น กรณีของพระเทวทัตต์ ชักจูงให้

                       พระบวชใหม่หลงผิดเป็นชอบ โดยการทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทใหม่ขึ้นมา ดังนี้

                       (๑) ภิกษุพึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดไปสู่ละแวกบ้าน รูปนั้นมีโทษ (๒) ภิกษุพึงเที่ยว
                       บิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดรับนิมนต์ รูปนั้นมีโทษ (๓) ภิกษุพึงถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

                       ตลอดชีวิต รูปใดรับผ้าคหบดี รูปนั้นมีโทษ (๔) ภิกษุพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าสู่ที่มุง
                       ที่บัง รูปนั้นมีโทษ (๕) ภิกษุไม่พึงฉันของสดของคาวมี ปลา เนื้อ เป็นต้น ตลอดชีวิต รูปใดฉัน

                                ๑๐๔
                       รูปนั้นมีโทษ
                                 ในกรณีนี้ พระศาสดาไม่ทรงเห็นชอบเพราะเป็นการประพฤติปฏิบัติที่ตึงเครียดเกินไป
                       ตรัสว่า “อย่าเลยเทวทัต รูปใดปรารถนาจะถืออยู่ป่าเป็นวัตรหรืออยู่บ้านตลอดจนถึงการเที่ยวถือ

                       บิณฑบาต รับนิมนต์ ถือห่มผ้าบังสุกุลหรือรับผ้าคหบดี ก็แล้วแต่ใจตนสมัครจะประพฤติ”

                       ส่วนเรื่องเสนาสนะถือโคนไม้นั้น อนุญาตให้อยู่ได้เพียง ๘ เดือนเท่านั้น และถ้าเนื้อที่บริสุทธิ์โดย
                       ส่วนมากแล้วก็อนุญาตให้ฉันได้ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตเช่นนี้ พระเทวทัตต์จึงประกาศลัทธิ

                       ของตนแก่หมู่ภิกษุว่า ลัทธินี้เป็นสิ่งเลิศที่อาจน าออกซึ่งกองทุกข์ได้ เหล่าภิกษุบางพวกที่บวชใหม่
                       มีความรู้อ่อนก็เชื่อตามเข้าสมัครเป็นสาวกของพระเทวทัตต์เป็นจ านวนมาก แต่นั้นมา พระเทวทัตกับ

                       บริวารก็แยกท าสังฆกรรมอีกส่วนหนึ่งไม่ร่วมกับใคร ๆ ในเวลาต่อมา พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้

                       พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปกล่าวอนุศาสนี ปรับความเข้าใจในข้อธรรมกับเหล่าภิกษุนวกะที่
                       ตามพระเทวทัตไป ให้ละทิฏฐิที่ผิดแล้วพากลับมาได้ ส่วนพระเทวทัตเมื่อขาดบริวารแล้ว ก็เป็นอันหมด

                       สิ้นอ านาจทุกด้าน ต่อมาได้รู้สึกผิดจึงได้กลับมาขอขมาต่อพระพุทธองค์ แต่มาไม่ทันถึงก็ได้มรณภาพ
                             ๑๐๕
                       เสียก่อน
                                 ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนี้ พระอุปัชฌาย์ จึงมีบทบาทที่ส าคัญต่อการประพฤติชอบตาม

                       พระธรรมวินัยของพระนวกะ ผู้ยังมีการศึกษาไม่รอบด้านและยังเป็นผู้ใหม่ต่อศาสนาอีกด้วย เพื่อเป็นผู้
                       ฝึกฝนอบรมบ่มนิสัยแก่กุลบุตร ผู้เข้าไปบวชให้รู้จักหน้าที่ของความเป็นพระภิกษุ และผู้ด ารงไว้ซึ่ง


                       พระพุทธศาสนา คือศาสนทายาท
                                 ดังนั้น เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของการศึกษาในหัวข้อนี้ ผู้วิจัย จะได้น าเสนอถึงมูลเหตุ

                       ที่ท าให้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัยแก่เหล่าภิกษุในรูปแบบของการตั้งองค์กรคือ


                                 ๑๐๔  วิ.จู. (ไทย) ๗/๓๔๙/๑๓๔-๑๓๕.

                                 ๑๐๕  เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย,
                       ๒๕๔๓), หน้า ๒๒-๒๓.
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69