Page 60 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 60
๔๒
พิจารณารับและให้การอุปสมบท โดยทรงวางหลักเกณฑ์ ก าหนดคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการจะบวช
เพื่อเป็นแนวทางในการด าเนินงานของพระสาวกส่งผลให้สมาชิกขององค์กรคณะสงฆ์เจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว เมื่อคนมาอยู่ร่วมกันเป็นจ านวนมากจึงจ าเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้
การอยู่ร่วมกันเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติไปในแนวทาง
เดียวกัน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อเป็นเครื่องควบคุมความประพฤติ เพื่อส่งเสริม
การศึกษาและปฏิบัติให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระศาสนา การบัญญัติสิกขาบทจึงเป็นการจัดตั้ง
๙๑
องค์กรคณะสงฆ์ วางระบบ การประพฤติปฏิบัติให้เกิดมีในองค์กรคณะสงฆ์
ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทั้งหลายไม่มีอุปัชฌาย์ ไม่มีใครตักเตือนไม่มีใครพร่ าสอน
ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนก าลังบริโภคย่อมน้อมบาตร
ส าหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้ม
บ้าง ของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉันในโรงอาหารก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียง
ดังอยู่ ประชาชน จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร
เที่ยวบิณฑบาตเมื่อประชาชนก าลังบริโภค ได้น้อมบาตรส าหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบน
ของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง
ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็ได้เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่
เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่เลี้ยงพราหมณ์
๙๒
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ การที่ภิกษุเข้ามาใหม่ยังไม่รู้ระเบียบข้อบังคับ จ าเป็นต้องมีผู้คอย
แนะน า คือมีพระอุปัชฌาย์ เป็นผู้ฝึกสอนหรือดูแลเป็นผู้น าเข้าหมู่ เป็นผู้รับรอง ถ้าไม่ได้อยู่กับ
พระอุปัชฌาย์ ต้องถือภิกษุอื่นให้เป็นอาจารย์ เพื่อไว้พึ่งพิง ฝึกมารยาท ให้ความรู้ต่าง ๆ แทน
พระอุปัชฌาย์ เป็นการเข้าไปพึ่งพิงอาศัยภิกษุอื่นให้คอยแนะน าตักเตือนตนเอง ในเวลาต่อมา
เมื่อพระภิกษุทั้งหลาย ได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
ทั้งหลาย จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนก าลังบริโภค
ได้น้อมบาตรส าหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง
ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรง
อาหารก็ได้เป็นผู้มีเสียงอื้ออึงมีเสียงดังอยู่ดังนี้ แล้วกราบทูลความนั้นแด่ พระพุทธเจ้า พระอุปัชฌาย์
ในช่วงแรกเกิดจากการที่พระสงฆ์ให้เกียรติกันเองว่าพระภิกษุรูปนั้นเป็นพระเถระ มีภูมิธรรมใน
ระดับสูงพอที่จะชี้แนะสัทธิวิหาริกของตนเองได้ถูกต้อง ต่อมาในระยะหลังจึงได้มีระเบียบการสรรหา
๙๑ ดูรายละเอียดใน วิ.มหา. (ไทย) ๑/๒๑/๑๓.
๙๒ วิ.ม. (ไทย) ๔/๗๗/๑๐๗.