Page 57 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 57

๓๙


                       ก าเนิดเป็นเครื่องแบ่งแยกและวัดความสูงต่ าของมนุษย์ให้ถือคุณธรรม ความสามารถและความ
                       ประพฤติปฏิบัติ เป็นเครื่องแบ่งแยกวัดความทรามและความประเสริฐของมนุษย์ สอนให้ตระหนักว่า

                       วรรณะไม่สามารถกีดกัน จ ากัดขอบเขตความสามารถของมนุษย์ บุคคลทุกคนไม่ว่าเกิดในวรรณะใดก็
                       มีความเป็นมนุษย์เท่ากัน และสามารถท าตนให้ดีเลวได้จนถึงที่สุดเท่า ๆ กัน ควรได้รับสิทธิและโอกาส

                       เท่าเทียมกันในการที่จะเลือกทางชีวิตและการปฏิบัติของตนเอง

                                 ๒) ในทางปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงตั้งคณะสงฆ์เป็นสังคมปราศจากวรรณะ และรับคน
                       จากทุกวรรณะเข้ามาสู่ความมีฐานะและสิทธิที่เท่าเทียมกัน และวางระบบสังคมพุทธบริษัทที่จะช่วยค้ า

                       จุนสังคมปราศจากวรรณะไว้ และทรงบัญญัติความหมายและสร้างความรู้สึกใหม่ ๆ ให้กับถ้อยค า
                       ต่าง ๆ ที่แสดงความแบ่งแยกชนชั้นเท่าที่มีใช้อยู่ในสมัยนั้น ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่จะวัดคนด้วย

                       คุณธรรม มิใช่ชาติก าเนิด เช่น ค าว่า อริยะ หรือค าว่าพราหมณ์ ดังพระพุทธด ารัสที่ได้ตรัสไว้ว่า

                                พราหมณ์ เราจะเรียกคนว่าประเสริฐ เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลก็หาไม่ เราจะเรียก
                            คนว่าต่ าทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลก็หาไม่ เราจะเรียกคนว่าประเสริฐ เพราะความ

                            เป็นผู้มีวรรณะใหญ่โตก็หาไม่ เราจะเรียกคนว่าต่ าทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลเพราะ

                            ความเป็นผู้มีวรรณะใหญ่โตก็หาไม่ เราจะเรียกคนประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากมายก็
                            หามิได้ เราจะเรียกคนว่าต่ าทรามเพราะความเป็นผู้มีโภคะก็หามิได้ แท้จริงบุคคลบางคน

                            แม้เกิดในตระกูลสูง ก็ยังเป็นผู้ชอบฆ่าฟัน ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
                            พูดค าหยาบ พูดค าเพ้อเจ้อ เป็นคนละโมบ คิดเบียดเบียน เป็นมิจฉาทิฏฐิ
                                                                                       ๘๗
                                 จากพระพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงถือชั้นวรรณะแต่ประการใด

                       แต่ทรงถือความประพฤติดีของบุคคล เช่น ประพฤติกุศลกรรมบถ เป็นต้น ไม่ท าชั่วด้วยกาย วาจา
                       และไม่คิดร้ายต่อผู้อื่นด้วยใจ เป็นต้น


                                 ๒.๔.๒  เป้าหมายการจัดตั้งคณะสงฆ์
                                 เป้าหมายส าคัญในการจัดตั้งคณะสงฆ์มีอยู่หลายประการ คือ เพื่อประโยชน์รวมแก่

                       พุทธบริษัท ๔ เพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกบุคคล เพื่อประโยชน์แก่การด าเนินชีวิตของประชาชนให้มี
                       ความสุขในปัจจุบันและอนาคต และเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาในการด ารงอยู่ ทั้งนี้ ในการ

                       จัดตั้งองค์กรคณะสงฆ์ คือ การก าหนดรูปแบบกฎเกณฑ์ ระเบียบวิธี การปฏิบัติในการด าเนินชีวิตอยู่

                       ร่วมกันของพระภิกษุสงฆ์ ระเบียบกฎเกณฑ์ที่เป็นหลักการ เหล่านั้นเรียกว่า พระธรรมวินัย
                       โดยมีจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งองค์กรคณะสงฆ์เป็นจุดมุ่งหมายจ าเพาะมีด้วยกัน ๕ ประการ ดังนี้

                                 ๑) เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ส่วนรวม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระธรรมวินัย เพื่อใช้เป็น

                       แนวทางการศึกษาและการปฏิบัติแก่พระภิกษุสงฆ์ ทั้งนี้เพราะแบบแผนและจุดมุ่งหมายของการ



                               ๘๗  ม.ม. (ไทย) ๑๓/๖๖๔/๖๑๒.
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62