Page 52 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 52
๓๔
๒.๒.๔ พุทธวิธีการน าเสนอ
วิธีการประกอบการสอนในหลักพุทธวิธีการสอน พระพุทธเจ้าจะทรงใช้ดังนี้
๑. การยกอุทาหรณ์และเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบค าอธิบายและการ
เล่านิทานประกอบการสอน ช่วยให้เข้าใจความได้ง่ายและชัดเจน ช่วยให้จ าได้แม่นย า เห็นจริงและเกิด
ความเพลิดเพลิน ท าให้การเรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น เช่น เมื่อจะอธิบายให้เห็นว่าบุคคลควรพูดแต่ค าที่
น่าพอใจ ไม่ควรพูดค าไม่น่าพอใจ แม้แต่สัตว์อื่นเขาก็ชอบค าพูดที่น่าพอใจเช่นกัน ก็เล่านิทานชาดก
เรื่อง โคนันทวิศาล เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงใช้อุทาหรณ์และนิทานประกอบการสอนมากมาย
๖๕
เพียงใด จะเห็นได้จากการที่ในคัมภีร์ต่าง ๆ มีอุทาหรณ์และนิทานปรากฏอยู่ทั่วไป
๒. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา ค าอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้ง เข้าใจยาก ปรากฏ
ความหมายเด่นชัดออกมาและเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะมักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม เปรียบ
ให้เห็นชัดด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้ออุปมาแบบรูปธรรม ก็ช่วยให้
ความหนักแน่นเข้า เช่น กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณาหรือกลิ่นกระล าพัก
ก็ลอยไปทวนลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษ ลอยไปทวนลมได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นหอมเหล่านี้
๖๖
คือ กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นดอกอุบล และกลิ่นดอกมะลิ ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้
ประพฤติประมาท เหมือนเถาย่านทรายเจริญในป่า เขาย่อมเร่ร่อนไปมา เหมือนวานรที่ต้องการผลไม้
๖๗
เที่ยวเร่ร่อนไปมาในป่า ฉะนั้น
๓. ใช้อุปกรณ์การสอน ในสมัยพุทธกาลย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนชนิดต่าง ๆ ที่จัดท าขึ้น
ไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะเหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะยังไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมาอย่าง
กว้างขวาง หากจะใช้อุปกรณ์บ้าง ก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่ผู้คนใช้กันอยู่ ตัวอย่างที่ทรงใช้อุปกรณ์การสอน โดยทรงใช้เครื่องใช้ที่มีอยู่ ในกรณีสอนผู้เรียนที่มี
อายุน้อย ๆ ซึ่งเข้าใจจากวัตถุได้ง่ายกว่านามธรรม บางทีก็ทรงใช้วิธีทายปัญหาซึ่งช่วยให้เกิดความรู้สึก
สนุกส าหรับเด็ก ดังปรากฏในสามเณรปัญหา ความว่า “อะไรชื่อว่า หนึ่ง...อะไรชื่อว่า สอง...อะไรชื่อ
๖๘
ว่า สาม...อะไรชื่อว่า สี่”
๔. ท าให้ดูเป็นตัวอย่าง วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะในทางจริยธรรม คือการท า
เป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอน เป็นการสาธิตให้ดู พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้น าที่ดี
สอนโดยท าเป็นตัวอย่าง คือพระจริยาวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกติ แต่ที่ทรงปฏิบัติเป็นเรื่องราว
เฉพาะ เช่น “คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ตามเสด็จ ขณะเสด็จไปตามเสนาสนะที่อยู่
๖๕ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๒๘/๑๒.
๖๖ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๕๔-๕๕/๔๓-๔๔.
๖๗ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๓๔/๑๓๗.
๖๘ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๔/๕.