Page 48 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 48
๓๐
ดังนั้นการประกาศพรหมจรรย์ จึงไม่ใช่เพียงแค่ค าสั่งสอน แต่เป็นการไปประกาศ
การกระท า ส่วนค าสั่งสอนนั้นเป็นวิธีการประกอบ นอกจากนี้ค าว่า ธรรม ยังหมายรวมถึง ธรรม ๓
ประการ คือ ปริยัติธรรม ปฏิปัตติธรรม และปฏิเวธธรรม ผู้ท าหน้าที่เผยแผ่จึงต้องสามารถแสดงธรรม
ได้ครบทั้ง ๓ ประการ จึงจะสมบูรณ์
๖) มีความหวังในผลส าเร็จมุ่งมั่นไม่ท้อถอย และไม่ละเลยประโยชน์สุขของผู้คนแม้มี
จ านวนน้อย ด้วยประโยคที่ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีในตาน้อยมีอยู่ย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม
จักมีผู้รู้ธรรม” เป็นการแสดงถึงค าสอนที่ไม่ให้พระสาวกท้อแท้สิ้นหวังในงานที่ยากนี้ และทรงให้
ก าลังใจว่า ยังมีผู้ที่สามารถปฏิบัติตามพระธรรมค าสอนนี้ได้แน่นอน จึงขอให้มุ่งมั่นท าประโยชน์ต่อไป
๗) มีความมักน้อย สมถะส ารวมพากเพียรในการฝึกฝนตน ซึ่งจะได้เป็นต้นแบบของ
การประพฤติพรหมจรรย์ และเป็นประโยชน์เฉพาะตนแก่พระสาวก
๒.๒ วิเคราะห์พุทธวิธีในการเผยแผ่
พุทธวิธีในการเผยแผ่ค าสอนของพระพุทธเจ้า คือการวางเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
ที่ต้องการบรรลุ ซึ่งผู้วิจัยจะได้น าเสนอในประเด็นดังต่อไปนี้
๒.๒.๑ พุทธวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งในการเผยแผ่ค าสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเริ่มจากผู้น า
คือชนชั้นปกครองหรือตระกูลใหญ่ ๆ มาเป็นผู้สนับสนุนเพราะชนชั้นปกครองซึ่งหมายถึงเจ้าผู้ครอง
แคว้น มหาอ ามาตย์ราชปุโรหิตผู้ใหญ่ และตระกูลใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์มหาศาล หรือคหบดี
มหาศาลซึ่งระดับเศรษฐีมหาศาลทั้งนั้น ถ้าได้บุคคลระดับนี้เข้ามาเป็นพุทธบริษัทก็จะเป็นก าลังส าคัญ
ในการเผยแผ่พระศาสนา คือเป็นเกราะคุ้มครองป้องกันให้พุทธบริษัทด้วย เป็นการสร้างแรงจูงใจและ
ความสนใจให้ผู้อื่นมานับถือพระพุทธศาสนาตามด้วย และที่ส าคัญเป็นการบ ารุงภิกษุและภิกษุณีสงฆ์
ไปด้วยในตัว ดังเช่น พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง ซึ่งมีบริษัทนับพันคนมาเป็นพุทธสาวก
และไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารซึ่งปกครองแคว้นมคธและแคว้นอังคะ มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ประจ าอยู่
แคว้นมคธนี้ เช่น เมณฑกเศรษฐี บิดาของธนัญชัยเศรษฐี ซึ่งเป็นปู่ของนางวิสาขา เมื่อพระพุทธเจ้า
เสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารครั้งแรก ชาวเมืองมีทั้งศิษย์พวกชฎิลบูชาไฟมาก่อน
๕๐
เมื่อชฎิล ๓ พี่น้องมาเป็นพุทธสาวก ขนกลุ่มนี้จึงเปลี่ยนใจมานับถือพระพุทธเจ้าโดยง่าย
๒.๒.๒ การสร้างแรงจูงใจต่อบุคคลภายนอกศาสนา
การสร้างแรงจูงใจต่อบุคคลภายนอกศาสนาให้หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้น มิใช่เรื่อง
ง่ายในสมัยพุทธกาลเพราะในสมัยนั้นมีกลุ่มของเจ้าลัทธิครูทั้ง ๖ ทุกฝ่ายเอ่ยอ้างอวดอิทธิฤทธิ์ว่าตน
๕๐ ดูรายละเอียดในวิ.ม. (ไทย) ๔/๕๕-๕๖/๖๖-๖๗.