Page 43 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 43

๒๕


                       ประโยชน์ และ ๘. ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท คุณสมบัตินี้ พระพุทธองค์ตรัสถึงพระสารีบุตรว่ามี
                                             ๓๒
                       คุณสมบัติของผู้ท าหน้าที่ทูต
                                 ๔) ผู้ท าหน้าที่ประกาศพระศาสนา ท าให้บุคคลที่พบเห็น เกิดความเลื่อมใสได้ ๔ แบบ คือ
                                     (๑) บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณหรือเลื่อมใสในรูป

                                     (๒) บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณหรือเลื่อมใสในเสียง

                                     (๓) บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณหรือเลื่อมใสในความเศร้าหมอง
                       หมายถึง ความเศร้าหมองแห่งจีวร คือ จีวรที่หยาบ จีวรเก่า และจีวรปะเย็บหลายครั้ง และความ

                       เศร้าหมองแห่งบาตร คือ บาตรที่มีรอยบุบหลายแห่ง
                                                                                 ๓๓
                                     (๔) บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณหรือเลื่อมใสในธรรม
                                 อธิบายขยายความให้ละเอียดขึ้นได้ดังนี้

                                     บุคคลผู้ถือประมาณในรูป (รูปประมาณ) เป็นบุคคลที่มองเห็นรูปร่างสวยงาม
                       อวัยวะสมส่วน ท่าทางสง่า สมบูรณ์พร้อมของผู้ประกาศพระศาสนา จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะ

                       เชื่อถือ เช่น อุปติสสะ ซึ่งพบพระอัสสชิเดินบิณฑบาตด้วยจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใสและได้เดินตามไป

                                                         ๓๔
                       จนได้ฟังพระธรรมและบรรลุโสดาปัตติผล  หรือพระวักกลิ ซึ่งบวชเพราะต้องการเห็นพระพุทธเจ้า
                       แต่ที่สุดแล้ว  พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ทั้งสองท่านบรรลุอรหัตตผลได้ในที่สุด เป็นต้น
                                ๓๕
                                     บุคคลผู้ถือประมาณในเสียง (โฆษประมาณ) เป็นบุคคลที่ได้ยินได้ฟังเสียงสรรเสริญ
                       เกียรติคุณหรือเสียงพูดจาที่ไพเราะ จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ เช่น พระลกุณฏกภัททิยะ

                       ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศทางด้านมีเสียงไพเราะ  เป็นต้น
                                                                             ๓๖
                                     บุคคลผู้ถือประมาณในความคร่ าหรือเศร้าหมอง (ลูขประมาณ) เป็นบุคคลที่มองเห็น
                       สิ่งของเครื่องใช้ความเป็นอยู่ที่เศร้าหมอง เช่น จีวรคร่ า ๆ หรือมองเห็นการกระท าคร่ าเครียด

                       เป็นทุกรกิริยา ประพฤติเคร่งครัดเข้มงวดขูดเกลาตน จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ
                                     บุคคลผู้ถือประมาณในธรรม (ธรรมประมาณ) เป็นบุคคลที่พิจารณาด้วยปัญญา

                       เห็นสารธรรมหรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะ

                       เชื่อถือ
                            ๓๗



                                 ๓๒  องฺ.อฏฺ ก. (ไทย) ๒๓/๑๖/๒๔๒-๒๔๓.
                                 ๓๓  องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๖๕/๑๐๘-๑๐๙.

                                 ๓๔  วิ.ม. (ไทย) ๔/๖๐/๗๒-๗๔.
                                 ๓๕  ขุ.อ. (ไทย) ๓๓/๔๓-๖๕/๒๔๓-๒๔๖.
                                 ๓๖  ส .นิ. (ไทย) ๑๖/๒๔๐/๓๓๒.

                                 ๓๗  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้ง
                       ที่ ๓๘, หน้า ๑๒๒-๑๒๓.
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48