Page 42 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 42

๒๔


                                   พระพุทธองค์ตรัสให้เหล่าพระสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาประกาศพรหมจรรย์
                       พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ เหล่าพระสาวกพึงด าเนินการตามค าสอนดังที่พระผู้มี

                       พระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เธอทั้งหลายพึงเรียน เสพ เจริญ
                       ท าให้มากด้วยดี โดยวิธีนี้พรหมจรรย์จะพึงตั้งอยู่ได้นาน ด ารงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล

                       แก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

                                               ๒๙
                       แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย  พระสาวกจึงต้องเรียนรู้เพื่อให้มีธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นก่อน จึงสามารถ
                       น าธรรมเหล่านี้ไปเผยแผ่หรือประกาศได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์

                                 ๒) ประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระอรหันตสาวก จ านวน ๑,๒๕๐ รูป  ซึ่งเป็นแนวทาง
                                                                                          ๓๐
                       ของความประพฤติ หลักการและอุดมการณ์ ซึ่งพระสาวกทั้งหมดสามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติตัว

                       อีกทั้งยังสามารถน าไปเป็นแนวทางในการแสดงธรรมเทศนาสั่งสอนให้บุคคลต่าง ๆ น าไปประยุกต์

                       ในการด าเนินชีวิตได้ด้วย ซึ่งโอวาทปาฏิโมกข์มีค าอธิบายสรุปเป็นหลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔
                       และวิธีการ ๖ ดังนี้

                                    หลักการ ๓ คือหัวใจของพระพุทธศาสนา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โอวาทปาฏิโมกข์

                       ๓ ได้แก่ ๑. การไม่ท าความชั่วทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น ไม่ท าบาป อกุศลทุจริตใด ๆ ทั้งทางกาย วาจา
                       และทางใจ ๒. การท าแต่ความดี ได้แก่ การประพฤติ ปลูกฝัง สร้างสมบุญกุศลสุจริต ทางกาย วาจา

                       ใจ และ ๓. การท าใจของตนให้บริสุทธิ์ ได้แก่ การช าระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลสหรือสิ่งที่ท าใจ
                       ให้เศร้าหมอง

                                    อุดมการณ์ ๔ ได้แก่ ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง ๑ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

                       กล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ๑  ผู้ท าร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ๑  ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อ
                       ว่าเป็นสมณะ ๑

                                    วิธีการ ๖ ได้แก่ การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ท าร้าย ๑ การส ารวมในปาฏิโมกข์ ๑
                                                                                          ๓๑
                       การเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑
                                 ๓) ประทานแนวทางของผู้ที่จะท าหน้าที่เป็นทูต โดยตรัสว่าผู้จะท าหน้าที่ทูตได้

                       ควรมีคุณสมบัติ ๘ ประการ ได้แก่ ๑. รู้จักฟัง ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้ ๓. ใฝ่ศึกษา ๔. ทรงจ าได้ดี
                       ๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็น









                                 ๒๙  ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๘๔/๑๓๐-๑๓๑.
                                 ๓๐  ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๙๐/๕๐-๖๐.

                                 ๓๑  ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, วันส าคัญทางพระพุทธศาสนา,“วันมาฆบูชา”, [ออนไลน์].
                       แหล่งที่มา: http://www.onab.go.th/articles [๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑].
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47