Page 38 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 38
๒๐
๑๒
(๖) ทรงมีหลักการสอนและวิธีสอนยอดเยี่ยม
๒.๑.๓.๓ เนื้อหาที่พระพุทธองค์ทรงสอน
เนื้อหาที่พระพุทธองค์ทรงสอน มีแนวทาง ดังนี้
(๑) สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่ายหรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งรู้เห็นเข้าใจได้ยาก
หรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ เช่น อริยสัจ ทรงเริ่มจากเรื่องทุกข์ ความเดือดร้อน ปัญหาชีวิตที่มองเห็น
และประสบอยู่โดยธรรมดาและเห็นอยู่ทุกคน ต่อจากนั้น จึงกล่าวถึงเหตุที่ยากและลึกซึ้ง และแนวทาง
แก้ไขต่อไป
(๒) สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียนได้ดู ได้เห็น ได้ฟัง หรือมีประสบการณ์ตรง ถ้าสิ่งที่
จะสอนนั้นเป็นสิ่งที่แสดงได้
(๓) สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่อง
โดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา
(๔) สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้
(๕) สอนเท่าที่จ าเป็นพอดีให้เกิดความเข้าใจได้ ให้การเรียนรู้ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่
ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก
(๖) สอนสิ่งที่มีความหมาย หรือสิ่งที่ผู้เรียนจะเรียนรู้และเข้าใจ เป็นประโยชน์แก่
๑๓
ตัวผู้เรียน
๒.๑.๓.๔ พุทธลีลาในการสอน
พระพุทธองค์ทรงใช้เทศนาวิธี ๔ ประการได้แก่ (๑) ชี้แจงให้เห็นชัด (๒) ชวนให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ (๓) เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (๔) ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ซึ่งมักพบ
เทศนาวิธีหรือลีลาการสอน ๔ ประการนี้ ไม่ว่าจะเป็นธรรมีกถาหรือการสนทนาที่ไม่ได้มีความมุ่งหมาย
พิเศษ เช่น ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านของท่านเศรษฐีบิดาของพระยสะ
เมื่อเสวยเรียบร้อยแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่มารดา บิดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ท าให้
ทั้งสามท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ดังเนื้อความว่า “...ทรงชี้แจงให้มารดา บิดาและภรรยาเก่าของ
ท่านพระยสะเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
๑๔
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากอาสนะจากไป” หรือเมื่อครั้งพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้น
๑๒ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า, (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ
พุทธธรรม, ๒๕๓๐), หน้า ๓๐-๓๑.
๑๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๑-๓๔.
๑๔ วิ.ม. (ไทย) ๔/๒๙/๓๖-๓๗.