Page 39 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 39

๒๑


                       มคธ ทรงถวายภัตตาหารแล้วทรงถวายอุทยานเวฬุวัน (วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) เป็นที่พักสงฆ์
                                                                           ๑๕
                       แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการนี้แก่พระเจ้าพิมพิสาร  เป็นตัวอย่าง
                                    สามารถอธิบายขยายความเทศนาวิธี ๔ ประการ ได้ดังนี้
                                     ๑) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด อธิบายว่า เมื่อจะสอนอะไร จะชี้แจง จ าแนก

                       แยกแยะ อธิบายและแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นจริง

                                     ๒) สมาทปนา ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ อธิบายว่า สิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดท า
                       จะแนะน าหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า มองเห็นความส าคัญที่จะต้องฝึกฝนบ าเพ็ญจนใจยอมรับ

                       อยากลงมือท าหรือน าไปปฏิบัติ
                                     ๓) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า อธิบายว่า ปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น

                       เกิดความอุตสาหะ มีก าลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะท าให้ส าเร็จได้ สู้งาน ไม่ระย่อ ไม่กลัวเหนื่อย

                       ไม่กลัวยาก
                                     ๔) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง อธิบายว่า บ ารุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน

                       โดยชี้ให้เห็นผลดีหรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับและทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลส าเร็จยิ่งขึ้นไป ท าให้ผู้ฟัง

                                                                                                      ๑๖
                       มีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ สรุปให้สั้นทั้ง ๔ ประการ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง
                                     ๒.๑.๓.๕  วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

                                     วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลากหลายวิธี ดังนี้
                                     (๑) การสนทนา หรือสากัจฉา เป็นวิธีที่ทรงใช้เมื่อผู้มาเฝ้าหรือทรงพบนั้น ยังไม่ได้

                       เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่รู้ไม่เข้าใจหลักธรรม พระพุทธองค์จะทรงถามน าคู่สนทนาเข้าสู่
                       ความเข้าใจธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาในที่สุด

                                     (๒) การบรรยาย มักใช้ในที่ประชุม ในการแสดงธรรมประจ าวัน ซึ่งมีประชาชนหรือ

                       พระสงฆ์จ านวนมากและส่วนมากเป็นผู้มีพื้นความรู้ความเข้าใจหรือมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่แล้ว
                       มาฟังเพื่อมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมและหาความสงบสุขทางจิตใจ ผู้ฟังมักเป็นคนประเภทเดียวกัน

                       และระดับใกล้เคียงกันพอที่จะใช้วิธีบรรยายเนื้อหาแบบกว้าง ๆ ได้
                                     (๓) การตอบปัญหา ผู้ถามปัญหา มีทั้งผู้ที่มีความข้องใจสงสัยในข้อธรรมต่าง ๆ หรือ

                       เป็นผู้ที่นับถือลัทธิศาสนาอื่น เพื่อมาลองภูมิบ้างเพื่อมาข่มปราบให้ได้อายบ้าง
                                                                                     ๑๗






                                 ๑๕  ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๕๙/๗๑-๗๒.
                                 ๑๖  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้ง

                       ที่ ๓๘, (กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๙), หน้า ๑๓๔-๑๓๕.
                                 ๑๗  พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า, หน้า ๔๓-๔๗.
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44