Page 44 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 44

๒๖


                                 ๕) พระพุทธองค์ตรัสถึงบุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
                       ควรมีลักษณะตามองค์คุณของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ

                                     (๑) ปิโย น่ารัก เป็นที่รักที่พอใจ เป็นที่วางใจ และสนิทสนม อันครอบคลุมถึง
                       ลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ ได้แก่ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรม

                       และผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของสัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ

                       คือ กล่าวถ้อยค าที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือ ปรารถนาน้อย
                       สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล

                       แก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน (๘) มีปัญญา
                       คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่เกื้อกูลแห่ง

                       สัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่เกื้อกูล

                       ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร
                                     (๒) ครุ น่าเคารพ เป็นที่เคารพ ท าให้เกิดความอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย

                                     (๓) ภาวนีโย น่ายกย่อง เป็นที่ยกย่อง ทรงคุณคือมีความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง

                                     (๔) วตฺตา รู้จักพูด ฉลาดในการใช้ค าพูด เป็นนักพูด คอยให้ค าแนะน าว่ากล่าว
                       ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดีได้

                                     (๕) วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยค า เป็นผู้อดทนต่อถ้อยค า พร้อมจะรับฟังค าซักถาม
                       ต่าง ๆ อยู่เสมอและสามารถรับฟังด้วยความอดทนไม่เบื่อหน่าย รวมถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว

                                     (๖) คมฺภีรญฺจ กถ  กตฺตา กล่าวชี้แจงแถลงเรื่องต่างๆ ที่ลึกซึ้งได้ เป็นผู้พูดถ้อยค า

                       ลึกซึ้งได้ เช่น เรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน
                                     (๗) โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย ป้องกันไม่ให้ท าในสิ่งที่ไม่เป็น

                       ประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้ท าสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข
                                                                                            ๓๘
                                 กล่าวโดยสรุปการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าในฐานะต้นแบบ จะพบว่า

                       ความส าเร็จมีสาเหตุมาจาก อุดมการณ์ เป้าหมาย แนวคิด และหลักการด าเนินงานอย่างเหมาะสม
                       ชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่พุทธสาวกผู้ท าหน้าที่รักษาและเผยแผ่พระศาสนาในยุคหลังควรท าความเข้าใจ

                       อย่างถ่องแท้และน าเป็นแบบอย่าง ดังนั้น ในประเด็นนี้สามารถจะน าวิธีการเผยแผ่พระศาสนาของ

                       พระพุทธเจ้ามาศึกษาและแยกแยะออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายแก่การเป็นต้นแบบของการวิเคราะห์
                       งานเผยแผ่พระศาสนาในยุคหลัง ดังนี้







                                 ๓๘  องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๓๗/๕๗.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49