Page 49 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 49

๓๑


                       เป็นผู้วิเศษ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ซึ่งสร้างความสับสนจนไม่ทราบว่าชาวบ้านชาวเมือง
                       จะเชื่อใครดี การที่จะสร้างแรงจูงใจให้เหล่าอัญญเดียรถีย์มานับถือพระพุทธศาสนายิ่งยากขึ้นไปอีก

                       เพราะพวกนี้เป็นผู้มีความรู้ เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ มานะถือตัวย่อมมีมากกว่าสามัญชน โดยเฉพาะ
                                                      ๕๑
                       อติมานะว่าตนหรือพวกตนยิ่งกว่าผู้อื่น  พระพุทธเจ้าทรงด าเนินการ ดังนี้
                                 ๑. พระองค์และพระสาวกมีพระธรรมวินัยเป็นหลัก มีความส ารวมกายวาจาอยู่แล้ว

                       มีสติมั่นคงด ารงอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่อยู่โดยปราศจากสติ เมื่อเสด็จไปที่ใดหรือพระอรหันต-
                       สาวกจาริกไปที่ใด ก็เป็นที่ดึงดูดใจให้น่าเลื่อมใสในปฏิปทา ดังกรณีตัวอย่างพระอัสสชิออกเที่ยว

                       บิณฑบาต อุปติสสปริพาชก ศิษย์ของสัญชัยเวลัฏฐบุตร หนึ่งในหกเจ้าลัทธิได้พบเห็นก็เกิดความ
                       เลื่อมใส หาโอกาสเข้าไปสนทนากับพระอัสสชิหลังฉันภัตตาหารแล้วเมื่อได้สดับธรรมเพียงย่อ ๆ ก็มี

                       ความเลื่อมใส จึงชวนเพื่อนคือโกลิตะไปพบท่านด้วย ศิษย์สัญชัย ๒ ท่านนี้ ต่อมาได้อุปสมบทในส านัก

                       ของพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ซึ่งมีเกียรติคุณโด่งดังได้เป็นพระอัครสาวก
                                                               ๕๒
                       เบื้องขวาและเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าตามล าดับ
                                 ๒. เมื่อพระพุทธเจ้ามีโอกาสและจังหวะ มักเสด็จไปเยี่ยมพวกอัญญเดียรถีย์ถึงส านักพวก

                       เขาบ่อย ๆ ได้สนทนาธรรมกัน เช่น คราวหนึ่งเมื่อประทับอยู่ในนิคมชื่ออนุปิยะ แคว้นมัลละ แต่เช้าตรู่
                       ได้เสด็จเข้าไปส านักของนักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร และสนทนากันด้วยอัธยาศัยไมตรี ในที่สุด

                       ปาฏิกบุตรปริพาชกมีความเลื่อมใส แม้จะไม่ได้เปลี่ยนใจมานับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็กราบทูลถึง
                       ความในใจตนอย่างไพเราะจับใจว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงการที่ข้าพระองค์ซึ่งมีทิฏฐิแตกต่างกัน

                       มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีอาภรณ์แตกต่างกัน เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ นี้เป็นสิ่ง

                       ที่กระท าได้ยากก็จริง แต่ข้าพระองค์จักรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคไว้ให้ดีให้ได้
                                                                                               ๕๓
                                 คราวหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏในกรุงราชคฤห์ ได้เสด็จเข้าไปส านัก

                       ของนิโครธปริพาชกซึ่งพ านักอยู่ ณ ปริพาชการามที่พระนางอุทุมพริกา มเหสีองค์หนึ่งของ
                       พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวาย เป็นอารามใหญ่มีบริวารของนิโครธปริพาชกพักอยู่ด้วยถึง ๓,๐๐๐

                       คน ได้สนทนากัน ด้วยเรื่องกีดกันบาปด้วยตบะ จนนิโครธปริพาชกและบริวารเข้าใจ สารภาพว่าตน

                       เป็นคนโง่เขลาไม่ฉลาด และที่เคยกล่าวร้ายพระพุทธองค์ ขอให้พระพุทธองค์อดโทษให้ด้วย และจะได้
                                 ๕๔
                       ส ารวมต่อไป  ผู้ที่เคยนับถือลัทธิอื่น เมื่อได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ ได้กราบทูลถามปัญหาหรือได้สดับ
                       ธรรมจากพระองค์ เกือบทั้งหมดเกิดความเลื่อมใสในพระจริยาวัตรอันงดงามในวิธีการตรัสสอนและ

                       เรื่องที่ทรงแสดงให้เหมาะกับอัธยาศัยของบุคคล ท าให้เขาเหล่านั้นเกิดความเลื่อมใส ปฏิญาณตนเป็น



                                 ๕๑  องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๖๖/๒๕๕-๒๖๑.
                                 ๕๒  ดูรายลเอียดในวิ.ม. (ไทย) ๔/๖๐-๖๒/๗๒-๗๗.

                                 ๕๓  ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๔๘/๓๔.
                                 ๕๔  ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๔๙-๗๗/๓๔-๕๕.
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54