Page 50 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 50

๓๒


                       พุทธมามกะจ านวนมาก ท าให้การเผยแผ่พระศาสนาของพระองค์นั้นได้ประสบผลส าเร็จอย่างยิ่งและ
                       รวดเร็ว


                                 ๒.๒.๓  วิสัยทัศน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                                 ในการเผยแผ่ค าสอนของพระพุทธเจ้าจ าต้องมีวิสัยทัศน์ซึ่งเป็นความจ าเป็นที่จะต้องมีการ

                       ปรับเปลี่ยนและก าหนดแผนกลยุทธ์ใหม่ เพื่อที่จะบรรลุถึงเป้าที่ได้ตั้งไว้ในอนาคต ซึ่งจะต้องพิจารณา
                       ให้รอบคอบและละเอียด เช่นตัวอย่างของกรณีการให้บรรพชาอุปสมบทซึ่งพระสาวกรุ่นแรกที่ทรง

                       จัดส่งไปประกาศพระศาสนาจ านวน ๖๐ รูปนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าประทาน

                       การอุปสมบทด้วยพระด ารัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
                       เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อท าที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”  เมื่อท่านเหล่านั้นส าเร็จเป็น
                                                                              ๕๕
                       พระอรหันต์แล้ว ได้ทรงจัดส่งไปประกาศพระศาสนา โดยทรงให้แยกย้ายกันจาริกไปเพื่อประโยชน์สุข
                       แก่คนหมู่มาก ออกไปประกาศพรหมจรรย์ เพื่อผู้มีธุลีคือกิเลสเบาบางจักได้บรรลุธรรม แม้แต่พระพุทธ

                                                   ๕๖
                       องค์ก็จักเสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม  นี้เป็นแผนครั้งแรกที่ทรงตัดสินพระทัยจัดส่งพระอรหันตสาวกไป
                       ประกาศพระศาสนาทั่วทิศานุทิศและก็ได้ผลด้วย เพราะต่อมามีกุลบุตรเป็นจ านวนมากเลื่อมใสมา
                       ขอบรรพชาอุปสมบท แต่พระสาวกเหล่านั้นยังไม่ได้รับพระพุทธานุญาตไว้ให้การบรรพชาอุปสมบท

                       ด้วยตนเองได้ ก็ต้องพาคนเหล่านั้นเดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความล าบากมาก

                       พระพุทธเจ้าก็ต้องทรงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ ตัดสินพระทัยอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นให้บรรพชา
                       อุปสมบทแก่กุลบุตรที่เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบทด้วยตนเองได้ “เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบทด้วย

                       ไตรสรณคมน์ เหล่านี้”  แต่อย่างไรก็ดี ผู้ที่เข้ามาทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระองค์โดยตรงในช่วง
                                         ๕๗
                       นี้ก็ยังได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทาอยู่

                                 ในส่วนภิกษุที่ได้รับการบรรพชาอุปสมบทจากส านักพระเถระต่าง ๆ ในยุคแรกก็อาจ

                       ออกไปอยู่กันตามล าพัง มีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย เพราะขาดสมณสารูป มีความประพฤติไม่เหมาะสม
                       ท าให้ชาวบ้านเสื่อมความศรัทธา พากันต าหนิติเตียน เหตุเช่นนี้ท าให้พระพุทธองค์ทรงคิดใหม่

                       เพราะการได้ปริมาณสาวกเพิ่มแต่ไม่มีคุณภาพก็ไม่มีประโยชน์อันใด ต้องทรงปรับเปลี่ยนทิศทางใหม่
                       ก าหนดให้มีการถืออุปัชฌาย์ ทรงวางระเบียบทั้งอุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรที่จะพึงปฏิบัติ

                            ๕๘
                       ต่อกัน
                                 ครั้นต่อมามีเรื่องที่ราธพราหมณ์ประสงค์จะบวช แต่ไม่มีภิกษุรูปใดคิดจะบวชให้
                       พระพุทธเจ้าทรงจัดการเรื่องนี้ โปรดให้มีพิธีบรรพชาอุปสมบทแบบจตุตถกรรมวาจา โดยให้มีสงฆ์ ๑๐



                                 ๕๕  วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๘/๒๕; ๔/๓๗/๔๐.
                                 ๕๖  วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐.

                                 ๕๗  วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๔/๔๒-๔๓.
                                 ๕๘  วิ.ม. (ไทย ๔/๗๔-๗๘/๗๙-๙๗.
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55