Page 51 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 51

๓๓


                                                                                ๕๙
                       รูป ขึ้นไปเข้าร่วมพิธี ทรงยกเลิกติสรณคมนูปสัมปทาแก่ภิกษุเสีย  ครั้นต่อมามีพระอุปัชฌาย์
                       เป็นจ านวนมาก สักแต่ว่าบวชให้กุลบุตรแล้ว บางรูปก็ไม่ใส่ใจดูแล ทอดทิ้งธุระหลีกไปหรือมรณภาพไป

                       พระพุทธเจ้าทรงปรับทิศทางใหม่ ให้ภิกษุใหม่พรรษายังไม่ครบห้า ให้ถืออาจารย์ ทรงก าหนด
                                                                                          ๖๐
                       อาจริยวัตร และอันเตวาสิกวัตร คือข้อปฏิบัติที่ศิษย์กับอาจารย์ใหม่พึงปฏิบัติต่อกัน
                                 เรื่องการบรรพชาอุปสมบทเรื่องเดียว พระพุทธเจ้าทรงปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติ

                       ตลอดเวลา เพราะมีปัญหามากแม้แต่เรื่องเดียรถีย์มาขอบวชแล้วสร้างปัญหา ก็ทรงให้อยู่ปริวาสก่อน
                       เรียกว่า ติตถิยปริวาส มีก าหนดมาบรรพชาเป็นสามเณรทดลองดูใจกันก่อน ๔ เดือน เห็นว่าเข้ามาดี

                                                           ๖๑
                       ตั้งใจจริง เลื่อมใสจริง จึงทรงอนุญาตให้บวช  ที่มีตัวอย่างให้เห็นและเป็นที่มาของพระสูตรหลายสูตร
                                                                    ๖๒
                       คือสามเณร ๒ รูป ได้แก่ วาเสฏฐะและภารทวาชะ  มีกรณีของพระมหากัจจายนะประกาศ
                       พระศาสนาอยู่ในแคว้นอวันตี ต่อมาพราหมณ์ชื่อโสณกุฏิกัณณะ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากของท่านมาขอ

                       บวช กว่าพระมหากัจจายนะจะหาพระภิกษุได้ครบ ๑๐ รูป ต้องใช้เวลาถึง ๓ ปี จึงครบองค์มาให้การ
                       อุปสมบทได้ ครั้นต่อมาจึงได้ขอพระพุทธเจ้าให้ลดจ านวนสงฆ์ลงแค่ ๕ รูปในกรณีท้องถิ่นกันดารที่มี

                       พระสงฆ์จ าพรรษาอยู่น้อย ก็ทรงมีพระพุทธานุญาตพร้อมทรงก าหนดเขตปัจจันตชนบทและมัชฌิม-

                       ชนบทไว้อย่างชัดเจนด้วย
                                           ๖๓
                                 นอกจากนี้ยังมีเรื่องการบรรพชาสามเณรแก่พระราหุล การบรรพชาแบบทายัชชอุปสมบท

                       แก่สามเณรบางรูปที่อายุเพียง ๗ ขวบ แต่ส าเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วให้เป็นภิกษุ การอนุญาตให้สตรี
                       เข้ามาบรรพชาอุปสมบท โดยมีพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นองค์ปฐม การบรรพชาเป็นสามเณรี

                       สิกขมานา ล้วนเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าต้องตัดสินพระทัยปรับเปลี่ยนแนวทางไปตามสถานการณ์
                       กล่าวได้ว่า ในพรรษาแรกที่ตรัสรู้ที่ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พระปัญจวัคคีย์ จวบจนพรรษา

                                                                                                      ๖๔
                       สุดท้ายได้ประทานการอุปสมบทให้แก่พระสุภัททะที่เตียงพระบรรทมก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
                                 จะเห็นได้ว่าในประเด็นเรื่องการให้อุปสมบทแก่กุลบุตรที่ประสงค์จะบวชในพระศาสนานี้

                       พระองค์วางข้อปฏิบัติไว้อย่างเคร่งครัดมาก โดยเฉพาะเดียรถีย์มาขอบวช ก็ทรงให้อยู่ปริวาสก่อน

                       เพราะบวชแล้วเกรงว่าจะสร้างปัญหาในภายหลัง






                                 ๕๙  วิ.ม. (ไทย) ๔/๗๙-๗๐/๙๗-๙๙.

                                 ๖๐  วิ.ม. (ไทย) ๔/๗๔-๘๓/๑๐๒-๑๒๒.
                                 ๖๑  วิ.ม. (ไทย) ๔/๘๗-๘๗/๑๓๗-๑๔๒.
                                 ๖๒  ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๑๑/๘๓.

                                 ๖๓  วิ.ม. (ไทย) ๕/๒๕๗-๒๕๙/๓๒-๓๙.
                                 ๖๔  ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๒-๒๑๕/๑๗๐-๑๗๔.
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56