Page 53 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 53

๓๕


                       ของพระสงฆ์ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง นอนจมกองมูตรและคูถ
                       ของตน ไม่มีผู้ดูแล จึงเสด็จเข้าไปหาจัดการท าความสะอาด ให้นอนโดยเรียบร้อย เสร็จแล้วจึงทรง

                       ประชุมสงฆ์ ทรงสอบถามเรื่องนั้น และตรัสตอนหนึ่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดา ไม่มีบิดาผู้
                       คอยพยาบาล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะคอยพยาบาลพวกเธอ

                                                                     ๖๙
                       ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะพยาบาลเรา ก็จงพยาบาลภิกษุไข้เถิด”
                                 ๕. การเล่นภาษา เล่นค าและใช้ค าในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและเล่นค า
                       เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ

                       ของพระพุทธเจ้าที่มีรอบด้าน เมื่อผู้ใดทูลถามมาเป็นค าร้อยกรอง พระองค์ทรงตอบเป็นค าร้อยกรอง
                       ไปทันที บางทีเขาทูลถามหรือกล่าวข้อความ โดยใช้ค าที่มีความหมายไปในทางไม่ดีงาม พระองค์ตรัส

                       ตอบไปด้วยค าพูดเดียวกันนั้นเอง แต่เป็นค าพูดในความหมายที่ต่างออกไปเป็นฝ่ายดีงาม ค าสนทนา

                       โต้ตอบแบบนี้ มีรสอยู่แต่ในภาษาเดิม แปลออกสู่ภาษาอื่นย่อมเสียรสเสียความหมาย บางครั้งผู้มาเฝ้า
                       บริภาษพระองค์ ด้วยค าพูดต่าง ๆ ที่รุนแรงยิ่ง พระองค์ยอมรับค าบริภาษเหล่านั้นทั้งหมด แล้วทรง

                                                                                                        ๗๑
                       แปลความหมายอธิบายเสียใหม่ให้เป็นเรื่องดีงาม เช่น กรณีของเวรัญชพราหมณ์  และสีหเสนาบดี
                                                                                        ๗๐
                       ผู้รับแผนมาจากนิครนถ์นาฏบุตร
                                 ๖. อุบายเลือกคนและการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายส าคัญในการเผยแผ่

                       พระพุทธศาสนา เริ่มแรกประดิษฐานพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงด าเนินพุทธกิจด้วย พุทโธบาย
                       ที่ได้ผลดีอย่างยิ่ง ในการสั่งสอนแสดงธรรมทรงมักเริ่มต้นด้วยบุคคลที่เป็นพระมหากษัตริย์หรือประมุข

                       ของประเทศ อีกทั้งผู้น าของลัทธิต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มของเจ้าลัทธิครูทั้ง ๖  ท าให้การเผยแผ่
                                                                                         ๗๒
                       พระศาสนาของพระองค์นั้นได้ประสบผลส าเร็จอย่างยิ่งและรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการยืนยันพระปรีชา
                       สามารถของพระองค์เป็นอย่างดีด้วย

                                 ๗. การรู้จักจังหวะและโอกาส เมื่อผู้เรียนยังไม่พร้อม ยังไม่เกิดปริปากะแห่งอินทรีย์หรือ
                       ญาณ ผู้สอนต้องมีความอดทน ไม่ชิงหักหาญ แต่ต้องตื่นตัวอยู่เสมอ เมื่อถึงจังหวะและโอกาส ก็ต้องมี

                       ความฉับไวที่จะจับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไป เช่น ในระยะเริ่มแรกประกาศ

                       พระพุทธศาสนา ณ วันมาฆปุรณมี หลังตรัสรู้ ๓ เดือน เมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวัน พระสงฆ์สาวกมา
                       ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นั้น และเป็นโอกาสเหมาะ พระองค์ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  เป็นการ
                                                                                                ๗๓
                       ใช้จังหวะและโอกาสให้เกิดประโยชน์



                                 ๖๙  วิ.ม. (ไทย) ๕/๒๒๔/๒๔๐.
                                 ๗๐  ดูรายละเอียดใน องฺ.อฏฺ ก. (ไทย) ๒๓/๑๑/๒๑๙-๒๒๒.
                                 ๗๑  ดูรายละเอียดใน องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๓๔/๕๔-๕๖.

                                 ๗๒  ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๒๘/ ๒๘๐-๒๘๑.
                                 ๗๓  ที.ม.อ. (ไทย) ๑๐/๑๒.
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58