Page 58 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 58

๔๐


                       ด าเนินชีวิตของพระภิกษุนั้นมีแบบแผนและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างจากสังคมทั่วไป จึงจ าเป็นต้องมีการ
                       จัดสภาพที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติ ที่มุ่งตรงต่อจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และเป็นการเผยแพร่

                       ความดีงามที่เกิดจาการปฏิบัติเช่นนั้นให้กว้างขวางออกไป เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก ความส าคัญที่
                       เป็นความจ าเป็นในการที่จะก าหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันของพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นสังคม

                       ใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยประสานแนวคิดและการปฏิบัติให้เป็นไปในท านองเดียวกัน หรือมีความ

                       เสมอกันทั้งทิฎฐิสามัญญตา และสีลสามัญญตา
                                 ๒) เพื่อประโยชน์เฉพาะปัจเจกบุคคล ในยุคต้นของสมัยพุทธกาลบุคคลที่เข้ามาบวชล้วน

                       เป็นผู้มีสัมมาทิฎฐิ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการท าที่สุดแห่งทุกข์อย่างแท้จริง และบางท่านก็ได้เป็นผู้บรรลุ
                       ธรรมในชั้นสูงแล้ว จึงได้รับการบรรพชาอุปสมบท แม้บางท่านจะยังไม่ได้บรรลุธรรมชั้นสูง ระเบียบ

                       ปฏิบัติและการด ารงอยู่ก็เป็นบุคคลที่มีศีลเป็นที่รัก ต่อมา เมื่อมีคนเข้ามาบวชมากขึ้น มีการประพฤติ

                       ผิดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ พระภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักจึงได้รังเกียจ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าการอยู่
                       ร่วมกันของบุคคลที่ไม่เสมอกันนั้นเป็นทุกข์ การบัญญัติพระธรรมวินัยจึงเป็นไปเพื่อก าราบพระภิกษุ

                       ผู้ไม่มีความละอายในการประพฤติปฏิบัติตนที่น าความเสื่อมเสียมาสู่คนหมู่มาก โดยเป็นการก าหนด

                       ขอบเขตการประพฤติปฏิบัติ และเมื่อฝ่าฝืน ย่อมมีโทษตามสมควรแก่ธรรมนั้น ๆ ซึ่งเป็นการป้องกัน
                       และเพื่อเป็นการอยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเพราะบุคคลผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมต้องการอยู่อย่าง

                       สงบสุข
                                 ๓) เพื่อประโยชน์แก่ชีวิตของมนุษย์ พระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ย่อมเป็นเหตุที่ท า

                       ให้เกิดผลในการเข้าไปปิดกั้นความประพฤติที่อาจเข้าไปล่วงละเมิดกฎหมายของรัฐด้วย ซึ่งเป็นการปิด

                       กั้นผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน เมื่อพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรวินัยแล้ว ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้
                       มีธรรมส าหรับปิดกั้นความชั่วและส าหรับอบรมฝึกหัดตนให้เป็นคนดี ทั้งนี้เพราะเป็นผู้คุมความ

                       ประพฤติให้เป็นปกติ เป็นผู้ไม่ตกไปจากพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด าเนินไปสู่หนทางอันสูงสุด
                       และแม้จะไม่ได้บรรลุธรรมในขั้นสูงก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ด ารงอยู่ในคุณความดีสมควรแก่ธรรมที่ตนได้

                       ปฏิบัติ

                                 ๔) เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปที่เป็นสังคมใหญ่ การเกิดขึ้นขององค์กรคณะสงฆ์
                       เป็นสิ่งที่ช่วยในการส่งเสริมสังคมในอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะองค์กรคณะสงฆ์เป็นการรวมตัวของ

                       บุคคลที่ได้รับการฝึกฝน รับการพัฒนาแล้ว ด ารงตนอยู่ในฐานะอันสูงสุดเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

                       การปฏิบัติดีของพระสงฆ์ จึงเป็น ประโยชน์แก่มหาชน
                                                                   ๘๘
                                 นอกจากนั้น สังคมสงฆ์เป็นชุมชนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับธรรมโดยตรง เพราะเป็นผู้ปฏิบัติ

                       ฝึกอบรมตน และประพฤติเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก เป็นชุมนุมที่มีคุณธรรมหรือประพฤติความดี



                               ๘๘  ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๓๑/๓๖๔.
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63