Page 59 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 59

๔๑


                       ไว้ได้มากที่สุด รักษาวินัยซึ่งยากยิ่งที่ปุถุชนจะประพฤติได้ เป็นสมาคมของคนที่โดยมากมีคุณธรรม
                       เป็นสัญลักษณ์ของธรรมหรือการด ารงอยู่แห่งธรรม ทั้งนี้ องค์กรคณะสงฆ์ จัดได้ว่าเป็นสังคมผู้น าใน

                       ด้านคุณธรรม ความดี ที่เป็นแบบอย่างของคนในสังคมอันก่อให้เกิดความเลื่อมใสของประชาชนที่ยังไม่
                       เลื่อมใส และน้อมน าตนเข้ามาสู่การประพฤติปฏิบัติในความดี พระภิกษุถึงแม้จะได้รับการพัฒนาอย่าง

                       สมบูรณ์แล้วคือ เป็นพระอรหันต์ก็ตาม แต่ก็ยังต้องประพฤติตามกฎเกณฑ์ของสังคม หรือประพฤติตัว

                                    ๘๙
                       ให้เป็นแบบอย่าง
                                 ๕) เพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา การบัญญัติพระธรรมวินัยเพื่อใช้เป็นแกนกลาง

                       ในการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรคณะสงฆ์ จะเป็นส่วนท าให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับการศึกษา
                       และมีแนวปฏิบัติพร้อมกันนั้น ก็สามารถที่จะน าพระธรรมค าสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปเผยแผ่ให้เจริญ

                                                                     ๙๐
                       และมั่นคงต่อไปอันเป็นเหตุให้พระศาสนาด ารงอยู่ได้นาน
                                 สรุปได้ว่า เนื่องจากสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล มีการแบ่งแยกเรื่องชนชั้นเป็นอย่างมาก

                       ท าให้บุคคลหลายชนชั้น ขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมบริหารประเทศ ทั้งไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม

                       เช่น พวกศูทร จัณฑาล เป็นต้น แต่เมื่อพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นกลับเป็นโอกาสให้บุคคลเหล่านั้น
                       มีสิทธิเท่าเทียมกับวรรณะอื่น ๆ เพราะอาศัยหลักธรรมวินัยความประพฤติ จึงท าให้เป็นที่ยอมรับของ

                       ประชาชนทั่วไป ในความเสมอภาคกัน ความเป็นเอกภาพของพระพุทธศาสนา เห็นได้จากเหล่าพุทธ

                       บริษัทได้รวมตัวกันเป็นองค์กรใหญ่ เพื่อความมั่นคงและเพื่อการควบคุมบุคคลที่ไม่ปรารถนา ไม่ให้มี
                       อ านาจในการปกครองคณะสงฆ์


                                 ๒.๔.๓  การเกิดขึ้นของพระสงฆ์และองค์กรสงฆ์ในสมัยพุทธกาล
                                 การเพิ่มจ านวนของภิกษุบริษัท ในระยะเริ่มแรกของการเผยแผ่พระศาสนา บุคคลผู้เข้ามา

                       บวชในองค์กรคณะสงฆ์มีจ านวนไม่มากนั้น พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์ก าหนดคุณสมบัติของผู้
                       ต้องการจะบวช ทั้งนี้ เพราะพระองค์ทรงท าหน้าที่ในการคัดเลือกและให้การบวชเอง เรียกว่า

                       เอหิภิกขุอุปสัมปทา และผู้ที่เข้ามาบวชเป็นผู้ที่ได้อบรมอินทรีย์มาเป็นอย่างดีแล้ว การประพฤติปฏิบัติ

                       จึงเป็นไปตามจารีตของนักบวชสมัยนั้น ภายหลังจากที่ส่งพระสาวกออกประกาศพระศาสนา
                       ปรากฏว่า มีผู้เลื่อมใสต้องการจะมาบวชด้วยเป็นจ านวนมาก พระสาวกเหล่านั้นก็น ามาเฝ้า

                       พระพุทธเจ้าเพื่อประทานการบวชให้ แต่บางท่านก็อยู่ในสถานที่ไกล การคมนาคมไม่สะดวก อีกทั้งผู้
                       ต้องการบวชก็เพิ่มจ านวนปริมาณมากขึ้นทุกขณะ พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาให้มอบอ านาจในการ





                               ๘๙  พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๙,
                       (กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๔๓๘ - ๔๓๙.

                               ๙๐  วิ.มหา. (ไทย) ๑/๒๑/๑๓,พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), นิติศาสตร์แนวพุทธ, พิมพ์ครั้งที่ ๔,
                       (กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๓), หน้า ๖๒ - ๖๓.
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64