Page 63 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 63

๔๕


                            ล าบากมาก จึงตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายนั่นแหละจงให้บรรพชา จงให้อุปสมบท
                                                      ๙๘
                            ในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆ เถิด

                                 จากพระพุทธพจน์นี้ จะเห็นว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธประสงค์โดยอนุญาตให้บวชได้
                       ด้วยระบบใหม่ที่พระเถระรูปอื่น ๆ ก็สามารถให้การบวชได้ ไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อน ากุลบุตรเพื่อเข้า

                       มาบวชกับพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวอีกต่อไป ระบบการบวชใหม่นี้เป็นระบบที่ใช้ได้ทั่วไปเป็นการติด
                       อาวุธในการเผยแผ่พระศาสนาให้กับเหล่าพระสาวก ระบบนี้เรียกว่า ไตรสรณคมน์ แม้พระพุทธเจ้าจะ

                       ทรงกระจายพุทธประสงค์ไปยังพระเถระให้สามารถเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ แต่เมื่อมีพระภิกษุจ านวน

                       มากเข้ามาบวชแล้ว พระอุปัชฌาย์ก็มีจ านวนน้อย ไม่สามารถควบคุมดูแลพระนวกะให้อยู่ในกรอบของ
                       พระธรรมวินัยได้ เนื่องด้วยไม่มีใครว่ากล่าวเหล่าภิกษุที่ประพฤติไม่งาม ไม่เรียบร้อย ทั้งการนุ่งห่ม

                       มารยาท เที่ยวบิณฑบาต ไม่มีใครคอยตักเตือน พร่ าสอน  จึงทรงตั้งพระอุปัชฌาย์ เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย
                                                                     ๙๙
                       ได้เข้าไปตั้งจิตคุ้นเคยสนิทสนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร และเพื่อให้เข้าไปตั้งจิตคุ้นเคยสนิทสนมใน

                       พระอุปัชฌาย์ฉันบิดา  ต่อกันและกัน เริ่มแรกนั้นไม่ได้ทรงแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์เป็นหลักการเอาไว้
                                        ๑๐๐
                       เพียงแต่ทรงอนุญาตให้แสวงหาพระอุปัชฌาย์เอาเอง โดยตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริก พึงถือ
                       อุปัชฌาย์อย่างนี้ พึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า นั่งกระโหย่งประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า

                       ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด”  เพียงเท่านี้ก็ส าเร็จประโยชน์ได้ แต่แล้วการ
                                                                  ๑๐๑
                       อุปสมบทด้วยระบบไตรสรณคมน์ ได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าบรรดาภิกษุไม่
                       ประสงค์จะให้บวชก็เกิดเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา ตัดสินไม่ได้ อุปัชฌาย์ไม่รับบวช พระองค์จึงต้องหา

                       ทางออกให้ ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้น ดังเช่น กรณีของราธะพราหมณ์แม้บรรดาภิกษุไม่อนุญาตให้บวช
                       แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่าใครระลึกถึงความดีของพราหมณ์นั้นได้บ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่าเมื่อข้า

                       พระองค์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นี้ พราหมณ์นั้นได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า

                       ดีละ ๆ สารีบุตร สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้กตัญญูกตเวที ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พราหมณ์นั้นบรรพชา
                                  ๑๐๒
                       อุปสมบทเถิด  ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพราหมณ์ผู้นี้มีอุปนิสัยแห่งการบรรลุธรรมได้

                                 ในเวลาต่อมา พระองค์ประกาศห้ามการอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ และให้ใช้อุปสมบท
                                            ๑๐๓
                       ด้วยญัตติจตุตถกรรมแทน  ซึ่งเป็นระบบการให้อุปสมบทที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน อันแสดงให้เห็น
                       ถึงการส่งมอบพุทธบัญญัติของพระองค์สู่คณะสงฆ์อย่างแท้จริง ส่วนระบบไตรสรณคมน์นั้น ใช้ส าหรับ


                               ๙๘  วิ.ม. (ไทย) ๔/๔๒/๓๔.

                               ๙๙  วิ.ม. (ไทย) ๔/๗๙/๖๔.
                               ๑๐๐  วิ.ม. (ไทย) ๔/๘๑/๖๕.
                               ๑๐๑  วิ.ม. (ไทย) ๔/๘๑-๘๒/๖๕.

                               ๑๐๒  วิ.ม. (ไทย) ๔/๙๗/๖๙.
                               ๑๐๓  วิ.ม. (ไทย) ๔/๙๘/๖๙-๗๐.
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68