Page 66 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 66
๔๘
ขยายตัวใหญ่ขึ้น (๓) มีผลประโยชน์เกิดมากขึ้น (๔) มีผู้ทรงความรู้มากขึ้น (๕) มีผู้ประพฤติผิดให้
๑๐๙
เป็นที่เสื่อมเสีย
๒.๔.๕ ลักษณะของการปกครอง : การจัดองค์กร
การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาล มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตยและเป็นสังคมที่
เสมอภาค พระสงฆ์ทุกรูปมีหน้าที่ปฏิบัติตนตามพระวินัย พระเถระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์มี
หน้าที่ปกครองสานุศิษย์ของแต่ละรูป แต่ในสังฆกรรมทั้งปวงสงฆ์ย่อมเป็นใหญ่ ไม่เลือกว่าจะเป็น
อาจารย์หรือสานุศิษย์ เมื่อมีกิจของสงฆ์เกิดขึ้นจะต้องประชุมสงฆ์และถือมติเอกฉันท์เป็นหลัก ฉะนั้น
การปกครองตามพระวินัย แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑) ในลักษณะอาจารย์ปกครองศิษย์แต่ละส านัก คล้ายกับบิดามารดาปกครองบุตรธิดา
เป็นครอบครัวเช่นเดียวกัน
๒) ลักษณะที่สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรม คือการงานของหมู่สงฆ์ที่เป็นส่วนรวม พระพุทธ
องค์ประทานความเป็นใหญ่ให้แก่หมู่สงฆ์ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การอุปสมบท การลง
ปาฏิโมกข์ การสวดอัพภาณ เป็นต้น การมอบอ านาจชั้นแรก คือการอนุญาตให้รับสมาชิกเข้าหมู่
ที่เรียกว่า “จตุตถกรรมอุปสัมปทา” ซึ่งแปลว่า การบวชที่ต้องสวดประกาศอันมีการสวดเสนอญัตติ
รวม ๔ ครั้ง และก าหนดจ านวนสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรม ตลอดจนก าหนดเขตที่ประชุมเรียกว่า
๑๑๐
“สีมา” ในการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยพุทธกาล ในช่วงระยะกาล ๔๕ พรรษาที่พระพุทธเจ้าทรง
พระชนม์ชีพบ าเพ็ญพุทธกิจอยู่ มีวิวัฒนาการขององค์กรคณะสงฆ์ เริ่มจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ และ
ตัดสินพระทัยท าการประกาศเผยแผ่พระศาสนาให้แก่ประชาชนทั่วไป เมื่อมีผู้เลื่อมใสใคร่จะบวช
พระพุทธองค์ก็จะประทานการบวชให้ด้วยตัวพระองค์เอง เรียกการบวชแบบนี้ว่า
“เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ได้ท าการสั่งสอนพระสาวกในชั้นต้นจนได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยบุคคล
และได้ส่งพระสาวกเหล่านั้น ออกประกาศเผยแผ่พระศาสนายังที่ต่าง ๆ ครั้นในเวลาต่อมา ปรากฏว่า
มีผู้มีศรัทธาเลื่อมใสจะขอบวชด้วยจ านวนมาก พระสงฆ์สาวกได้น ากุลบุตรเหล่านั้น มาเฝ้า
พระพุทธเจ้าเพื่อที่จะให้พระองค์ทรงบรรพชาให้พระสาวกเหล่านั้นต่างได้รับความล าบากในการ
เดินทาง เพราะการคมนาคมยังไม่สะดวก ท าให้งานการเผยแผ่เป็นไปอย่างล่าช้า พระพุทธองค์ทรง
ค านึงถึงเหตุเหล่านี้ จึงทรงอนุญาตให้พระสาวกผู้ใหญ่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การ
บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรที่มีศรัทธาด้วยวิธี “ติสรณคมนูปสัมปทา หรือไตรสรณคมน์” และให้การ
๑๑๑
ปกครองดูแลกันเองในกลุ่ม
๑๐๙ วิ.มหา. (ไทย) ๑/๒๑/๑๓.
๑๑๐ คะนึงนิตย์ จันทบุตร, สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย,
(กรุงเทพมหานคร: กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม, ๒๕๓๒), หน้า ๙-๑๐.
๑๑๑ วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๔/๔๒-๔๓.