Page 65 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 65

๔๗


                                 ๒.๔.๔  การบัญญัติพระธรรมวินัย : การวางแผน
                                 สมัยที่พระพุทธเจ้าเผยแผ่พระศาสนา เพื่อให้เกิดมีผลที่เป็นประโยชน์แก่หมู่มนุษย์ใน

                       สังคม โดยทรงบัญญัติระเบียบในหมู่มนุษย์ จึงเรียกว่า “วินัย” ค าว่า วินัย มีความหมายเป็น ๓ นัย
                                                                                                       ๑๐๖
                       ได้แก่ (๑) วินัย หมายถึงนัยต่าง ๆ เพราะมีปาติโมกข์ ๒ คือ ภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์

                       มีวิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์ และมีอาบัติ ๗ กองเป็นต้น (๒) วินัย หมายถึง นัย เพราะมี

                       พระอนุบัญญัติเพิ่มเติมให้สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น หรือผ่อนผันให้
                       เหมาะสมแก่การกระท าความผิดหรือการล่วงละเมิด (๓) วินัย หมายถึง กฎหรือข้อบังคับส าหรับ

                       ฝึกอบรมกายและวาจา เพราะเป็นเครื่องป้องกันการประพฤติไม่เหมาะสมทางกายและวาจา ฉะนั้น
                       ค าว่า วินัย จึงมีค าที่เป็นไวพจน์หรือค าที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน

                       มากอยู่ ๓ ค า คือศีล พระบัญญัติ สิกขาบท แต่รวมความหมายแล้วก็ใช้ในความหมายเดียวกัน

                       คือ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการให้การศึกษาและการปกครองสงฆ์
                       และในที่นี้มุ่งเอาความหมายที่เป็นวินัยที่ใช้ส าหรับพระภิกษุ

                                 เมื่อพระพุทธเจ้าทรงก่อตั้งองค์กรคณะสงฆ์แรก ๆ ยังไม่ได้บัญญัติพระวินัย ทั้งที่เป็น

                       ปาฏิโมกข์และอภิสมาจาร พระภิกษุเมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็ถือปฏิบัติตามรูปแบบที่เป็น
                       ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยหลักการที่เป็นทั้งค าสั่ง และค าสอนรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งจัดเป็นจารีต

                       ศีล เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ มีใจความว่า “การไม่ท าบาปทั้งปวง การท ากุศลให้ถึงพร้อม การท าจิต
                       ของตนให้ผ่องแผ้ว นี้คือ ค าสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
                                                                         ๑๐๗
                                 หากมองในแง่ของเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น จะเห็นว่าพระองค์ไม่ได้

                       บัญญัติไว้ล่วงหน้าเหมือนกับกฎหมายโดยทั่วไป แต่ทรงค านึงถึงกาลเวลาและความเหมาะสมของ
                       เหตุการณ์เป็นหลัก และพุทธวิธีในการบัญญัติสิกขาบทก็ประกอบไปด้วย (๑) เมื่อมีเรื่องไม่ดีไม่งาม

                       เกิดขึ้น ทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ (๒) ตรัสถามภิกษุผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (๓) ทรงต าหนิ
                                                           ๑๐๘
                       ภิกษุที่ก่อเรื่อง (๔) ชี้โทษแห่งการล่วงละเมิด
                                 เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อใช้ในการปกครององค์กรคณะสงฆ์

                       ทรงค านึงถึงเหตุปัจจัยต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบหลัก ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระสารีบุตร เมื่อ
                       พระสารีบุตรได้ทูลขอร้องให้ทรงบัญญัติสิกขาบทและแสดงปาติโมกข์แก่พระสาวก อันจะเป็นเหตุให้

                       พรหมจรรย์ด ารงอยู่ได้นาน ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าเวลาและเหตุที่จะทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นจะต้อง

                       ประกอบไปด้วยปัจจัย ๕ ประการ ได้แก่ (๑) สังคมสงฆ์ตั้งได้เป็นเวลานานพอสมควร (๒) สังคมสงฆ์



                                 ๑๐๖  แสวง อุดมศรี, พระวินัยปิฎก ๑ ว่าด้วยมหาวิภังค์หรือภิกขุนีวิภังค์, (กรุงเทพมหานคร: ประยูร
                       วงศ์ พริ้นติ้ง, ๒๕๔๖), หน้า ๖-๗.

                                 ๑๐๗  ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๘๓–๑๘๕/๙๐-๙๑.
                                 ๑๐๘  วิ.มหา. (ไทย) ๑/๓๙/๒๗.
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70