Page 61 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 61
๔๓
เพื่อเป็นเกณฑ์วัดคุณสมบัติของพระอุปัชฌาย์ ซึ่งปัญหาเรื่องพระอุปัชฌาย์นี้ได้มีมาแล้วในสมัย
พุทธกาล ดังปรากฏใน อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ซึ่งได้มีผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไร จึงจะให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ได้ตรัสแสดงแก่พระอุบาลีว่า ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ดังนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ส ารวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ
เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ทรงจ าไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ทรงจ าปาติโมกข์ได้ดี จ าแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร
โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้สามารถพยาบาลได้เอง หรือผู้อื่นช่วยพยาบาลสัทธิวิหาริกผู้เจ็บไข้
๕. เป็นผู้สามารถระงับได้เอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความไม่ยินดี
๖. เป็นผู้สามารถบรรเทาความร าคาญที่เกิดขึ้นได้เองโดยธรรม
๗. เป็นผู้สามารถปลดเปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม
๘. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิศีล
๙. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิจิต
๑๐. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิปัญญา
๙๓
คุณธรรมทั้งหมดนี้ เป็นการกล่าวถึงคุณสมบัติเฉพาะของพระอุปัชฌาย์ในสมัยพุทธกาล
เพื่อเป็นการรับรอง ในด้านความประพฤติของพระอุปัชฌาย์ ไม่ให้ท าผิดนอกกรอบแห่งพระธรรมวินัย
ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกุลบุตรผู้หวังเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา โดยหวังพึ่งพา
พระอุปัชฌาย์ในด้านต่าง ๆ ทั้งการอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ มีอาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นต้น และการ
อนุเคราะห์ด้านจิตใจ เช่น การดูแลเอาใจใส่ในเมื่ออาพาธหรือป่วยไข้ การดูแลเอาใจใส่เมื่อไม่ต้องการ
จะบวชอยู่ต่อไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม พระอุปัชฌาย์จะต้องเอาใจใส่ต่อผู้บวชในทุก ๆ ด้าน
จึงจะถือว่าปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ และนี้ก็คือ ความส าคัญของพระอุปัชฌาย์ที่อาจวิเคราะห์
ตีความ อีกทั้งมองเห็นได้จากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ควรมีในพระอุปัชฌาย์ทรงอนุญาตอุปัชฌายะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยาย จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก
ความเป็นคนบ ารุงยาก ความเป็นคนมักมากความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่ายความเป็นคนบ ารุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความก าจัด
๙๓ องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๓๔/๘๔-๘๕.