Page 56 - STRATEGIES FOR BUDDHISM PROPAGATION OF OVERSEAS DHAMMADUTA BHIKKHUS (PH.D.)
P. 56
๓๘
(Religious Workers) ในต่างประเทศว่า พระธรรมทูตไทย (Thai Buddhist Monks to Abroad –
๘๔
Dhammaduta Monks)
ในที่นี้ขอสรุปความหมายของพระธรรมทูตว่า พระภิกษุสงฆ์ผู้ท าหน้าที่หลักในการเดินทาง
หรือจาริกไปเผยแผ่พระธรรมค าสอนหรือพรหมจรรย์หรือประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชนจ านวนมาก
ในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ชนเหล่านั้นได้รับประโยชน์สุขจากพระธรรมค าสอนในพระพุทธศาสนา
พระธรรมทูตชุดแรก ซึ่งพระพุทธองค์ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา ท าหน้าที่ประกาศ
หรือเผยแผ่พระธรรมค าสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามใน
๘๕
ที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชนจ านวนมาก ซึ่งบทบาทหน้าที่เหล่านี้ เป็นบทบาทหน้าที่ของผู้ท า
ที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว และเป็นบทบาทหน้าที่ที่ต้องใช้ความเมตตา กรุณา ความเสียสละและความเพียร
อย่างยิ่ง เพราะต้องเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล เพื่อให้ชนที่พร้อมต่อการฟังธรรมได้รับ
ประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งอาจต้องพบกับสถานการณ์อันไม่พึงปรารถนา
เช่น พระปุณณะจาริกไปที่สุนาปรันตชนบท ซึ่งเป็นชนบทที่ได้รับการกล่าวขานว่าป่าเถื่อน แต่ท่าน
สามารถท าให้ชาวชนบทแห่งนั้นเข้าถึงธรรมเป็นจ านวนกว่าหนึ่งพันคน
๘๖
๒.๔ พระสาวกที่ออกไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างถิ่น: การจัดโครงสร้างองค์กร
ในประเด็นนี้ ผู้วิจัยจะได้เสนอบทบาทของพระสาวกที่ออกไปเผยแผ่พระศาสนาในต่างถิ่น
ในรูปแบบของการจัดโครงสร้างองค์กรได้แก่ การจัดตั้งคณะสงฆ์และการบริหารจัดการโดยคณะสงฆ์ที่
ได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นหลักการที่ท าให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นมาจนถึงปัจจุบัน
๒.๔.๑ ข้อสนับสนุนในการจัดตั้งคณะสงฆ์
มูลเหตุส าคัญให้มีการเกิดขึ้นและด ารงอยู่ขององค์กรทุกองค์กร ย่อมมีผลมาจาก
สภาพแวดล้อมที่องค์กรด ารงอยู่ ทั้งนี้เพราะองค์กรเป็นหน่วยย่อยหน่วยหนึ่งของสังคม หลักการจัดตั้ง
และด าเนินกิจกรรมขององค์กรจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมใหญ่ มีสาเหตุที่เป็นไปได้ จากทัศนะเรื่อง
วรรณะในพระพุทธศาสนา ๒ ประการ คือ
๑) ในทางทฤษฎี (ใช้หลักกรรมแทนหลักพรหมนิรมิต) ชี้ให้เห็นว่า มีการต่อต้านและ
หักล้างความเชื่อถือในเรื่องวรรณะ ด้วยการเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของโลกและสังคมโดยการกระท า
ของมนุษย์ แทนทฤษฎีการสร้างโลก และบันดาลความเป็นไปในสังคมโดยพระผู้เป็นเจ้า มิให้ถือชาติ
๘๔ พันธกิจคณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน , [ออนไลน์]. แหล่งที่มา
http://www.padipa.org/venerable-monks.[๑ เมษายน.๒๕๖๒].
๘๕ ธรรมมีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล ธรรมมีความงามในท่ามกลางหมายถึงอริยมรรค และธรรม
มีความงามในที่สุดหมายถึงพระนิพพาน ที.สี.อ. (ไทย) ๑๙๐/๑๕๙.
๘๖ ดูรายละเอียดใน ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๓๙๖-๓๙๗/๔๔๙-๔๕๑.